รับทำบัญชี.COM | 11 รายการหนี้สินหมุนเวียนบัญชีชั้นกลาง?

Click to rate this post!
[Total: 84 Average: 5]

หนี้สินหมุนเวียนอื่น คือ ( Other Current Liabilities )

หนี้สินหมุนเวียนอื่น (Other Current Liabilities) คือหนี้สินหมุนเวียนที่กิจการไม่ได้แยกรายการไว้ในรายงานทางการเงิน อันเนื่องมาจากสาระสำคัญของแต่ละรายการและแต่ละบริษัทไม่เท่ากัน ซึ่งหาความหมายของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นได้ด้วยการอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หนี้สินหมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย มีอะไร ตัวอย่าง

หนี้สินหมุนเวียนอื่น มีอะไรบ้าง
– เงินปันผลค้างจ่าย
–  ดอกเบี้ยค้างจ่าย
–  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

การบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนประเภทอื่น

การบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนประเภทอื่น Accounting For Other Types Of Current Liabilities
หนี้สินหมุนเวียนที่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการนอกเหนือจากเจ้าหนี้การค้า และตั๋วเงินจ่ายแล้วนั้น กิจการยังมีหนี้สินหมุนเวียนประเภทอื่นอีกหลายบัญชี ซึ่งจะขออธิบายไว้ในเรื่องนี้ได้แก่

กิจการยังมีหนี้สินหมุนเวียนประเภทอื่นอีกหลายบัญชี ได้แก่

1. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมธนาคาร (Bank Overdrafts And Loans From Banks) เมื่อธุรกิจต้องการเงินสดใช้ในการดำเนินงาน ธุรกิจอาจทำความตกลงกับธนาคารเพื่อขอเบิกเงินเกินบัญชีเงินฝากที่ตนมีอยู่กับธนาคารนั้นๆ ซึ่งธนาคารจะมีข้อกำหนดวงเงินเบิกเกินบัญชีแตกต่างกันไปตามความต้องการของประเภทธุรกิจ และระยะเวลา ตลอดจนจำนวนเงินของการกู้ยืม
2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ให้ประโยชน์แก่กิจการภายในงวดระยะเวลาบัญชีนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดหรือการจ่ายเงินกระทำในงวดปีถัดไป ดังนั้นถือว่ากิจการมีหนี้สินเกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายนี้อาจเกิดขึ้นจากข้อกำหนดตามกฎหมาย จากข้อตกลงในสัญญาที่ได้กระทำไปแล้วหรือจากบริการที่ได้รับแล้ว เช่น ดอกเบี้ยคงค้างในเงินกู้ยืมซึ่งจะถึงกำหนดชำระในงวดปีถัดไป เงินเดือนและค่าจ้างซึ่งเป็นรายการที่กิจการมักจ่ายให้ภายหลังจากที่ได้รับบริการแล้ว หรือภาระผูกพันที่เกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาหรือข้อตกลงในอดีต เช่น การทำสัญญาเช่าอาคาร เมื่อเวลาผ่านไปกิจการย่อมมีพันธะผูกพันที่ต้องจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเช่านั้น นอกจากนี้ยังมีภาษีเงินได้ต่างๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมาย
3. เงินปันผลค้างจ่าย (Dividend Payable) หมายถึงภาระผูกพันของกิจการในรูปของบริษัทที่มีต่อผู้ถือหุ้นตั้งแต่วันที่กิจการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยปกติจะประกาศจ่ายเงินปันผลต้องได้มติของที่ประชุมใหญ่เสียก่อน เมื่อกิจการประกาศจ่ายเงินปันผลแล้วตามกฎหมายถือว่ากิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เนื่องจากระยะเวลาจากวันประกาศจ่ายถึงวันที่จ่ายจริงห่างกันไม่มากนัก จึงถือว่าเงินปันผลค้างจ่ายเป็นหนี้สินหมุนเวียนของกิจการซึ่งไม่อาจยกเลิกได้
4. โบนัสพนักงานค้างจ่าย (Employee Bonus Payable) กิจการอาจจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานเป็นพิเศษนอกเหนือจากค่าจ้างและเงินเดือนตามปกติ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับโบนัสพนักงานค้างจ่าย ณ วันสิ้นงวดบัญชี
5. รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenue Or Deferred Revenue Or Revenue Received In Advance) หมายถึงหนี้สินที่เกิดจากกิจการรับเงินไว้ล่วงหน้าสำหรับค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการยังไม่ได้ให้แก่ลูกค้า จึงทำให้เกิดภาระผูกพันเป็นพันธะของกิจการที่ต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าตามกำหนด รายได้รับล่วงหน้าเป็นรายได้ที่เกิดจากการที่กิจการรับเงินสดจากลูกค้ามาก่อนที่จะให้บริการหรือสินค้าถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนอย่างหนึ่ง ในขณะที่กิจการรับเงินสดมายังไม่ถือเป็นรายได้ของกิจการ
6. ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย (Value Added Taxes Payable) เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ เฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ซึ่งถ้ามูลค่าเพิ่มสูงก็จัดเก็บมาก มูลค่าเพิ่มน้อยก็จัดเก็บน้อย และถ้ามูลค่าลดลงก็จะคืนภาษีให้ตามส่วน การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นการเสียตามมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่การเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณโดยการนำเอาภาษีที่ได้ชำระไปในการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการประกอบการตามที่ปรากฎในแบบกำกับภาษีที่ผู้ขายออกให้ มาเครดิตออกจากภาษีขายที่ตนเรียกเก็บ
7. ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย (Income Taxes Payable) กิจการที่ดำเนินธุรกิจนั้นมีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่รัฐบาล เมื่อกิจการดำเนินธุรกิจมีผลกำไรสุทธิทางภาษี หากพบว่ากิจการมีกำไรก็จะต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีให้แก่รัฐบาลภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นงวดบัญชี
8. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Income Taxes Payable) หมายถึงค่าภาษีเงินได้ที่กิจการหักไว้จากเงินเดือน ค่าแรง การจ้างทำของหรืออื่นๆของพนักงานและรอการนำส่งให้แก่กรมสรรพากร จำนวนภาษีจะหักเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้รับเงินจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเท่าไร ในทางปฏิบัติกิจการอาจเป็นผู้จ่ายภาษีเงินได้แทนการหักจากเงินเดือนพนักงานก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกิจการกับพนักงาน
9. เงินมัดจำหรือเงินประกัน (Returnable Deposit Or Agency Obligation) เป็นเงินที่เกิดจากเงินที่กิจการได้รับจากลูกค้าหรือพนักงานเป็นประกันว่าจะปฏิบัติงานตามสัญญาหรือประกันว่าจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือเมื่อได้รับสินค้าหรือบริการ หรือการประกันสินค้าที่อยู่ในมือลูกค้า หรือการประกันความประพฤติของพนักงาน เงินมัดจำเป็นหนี้สินชนิดหนึ่งซึ่งอาจจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียนหรือระยะยาวก็ได้ขึ้นอยู่กับว่า กิจการจะต้องคืนเงินให้แก่ลูกค้าหรือพนักงานเมื่อใด ขณะที่กิจการรับเงินมัดจำหรือเงินประกันมา กิจการจะบันทึกบัญชีเป็นหนี้สินหมุนเวียนจนกว่าจะได้มีการจ่ายคืนเงินนั้น
10. หนี้สินระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Maturities of Long-term Liabilities Or Current Portion Of Long-Term Liabilities) กิจการอาจก่อหนี้สินระยะยาว เช่นออกพันธบัตรเงินกู้ ตั๋วเงินจ่ายจำนองและหนี้สินระยะยาวอื่นซึ่งหนี้สินเหล่านี้อาจกำหนดชำระภายในหนึ่งปีนับจากวันที่ในงบดุล ก็ให้แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล สำหรับหนี้สินระยะยาวที่มีกำหนดชำระเป็นงวดๆ เฉพาะจำนวนที่จะถึงกำหนดในงวดปัจจุบันเท่านั้น ให้แยกแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนส่วนที่เหลือให้แสดงเป็นหนี้สินระยะยาวต่อไป
11. เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (Loans From Related Companies) กิจการอาจกู้ยืมเงินจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพราะบริษัทเหล่านี้มักให้กิจการกู้ยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ และอาจไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงินมักมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จึงจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน