ควบคุม ภายใน เกี่ยวกับ เงินสด ประกอบด้วย?

Click to rate this post! [Total: 254 Average: 5] ในหน้า …

ควบคุม ภายใน เกี่ยวกับ เงินสด ประกอบด้วย? Read More »

Click to rate this post!
[Total: 254 Average: 5]

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด และสามารถทุจริตได้ง่าย

                 เนื่องจากเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด และสามารถทุจริตได้ง่าย ดังนั้นกิจการจึงต้องมีวิธีการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดการทุจริตได้ วิธีการพื้นฐานสำหรับการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด มีดังต่อไปนี้

1. การแบ่งแยกหน้าที่ กิจการควรแบ่งแยกหน้าที่พนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเงินสด โดยมิให้บุคคลเพียงคนเดียวรับผิดชอบหน้าที่ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงินสด เช่น ผู้ที่มีหน้าที่บันทึกบัญชีต้องไม่มีหน้าที่ในการรับจ่ายเงินสดของกิจการ เพื่อป้องกันการมิให้เกิดการบันทึกรายการ หรือการรับ-จ่ายเงินที่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้จากยอดของทั้งสอง

2. การรับเงินสด ทุกครั้งที่กิจการมีการรับเงินสด พนักงานรับเงินต้องจัดทำหลักฐานในการรับเงิน และนำเงินสดที่ได้รับในแต่ละวันฝากธนาคารทันทีภายในสิ้นวัน หรือถ้าไม่ทันก็ควรนำฝากธนาคารในเช้าวันรุ่งขึ้นทันที เช่น การรับเงินผ่านเครื่องบันทึกเงินสดก็จะมีหลักฐานเป็นม้วนกระดาษอยู่ภายในเครื่องบันทึกเงินสด หากไม่ได้รับเงินผ่านเครื่องบันทึกเงินสดต้องมีการออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง

3. การจ่ายเงิน ในการจ่ายเงินของกิจการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตได้ง่าย ควรจ่ายเงินทุกครั้งด้วยเช็ค เนื่องจากการจ่ายเช็คจะมีหลักฐานในการจ่ายปรากฏอยู่ที่ต้นขั้วเช็ค ส่วนรายจ่ายที่มีจำนวนเงินเพียงเล็กน้อยก็ใช้วิธีการเกี่ยวกับเงินสดย่อยในการควบคุม (วิธีการเกี่ยวกับเงินสดย่อยจะอธิบายในหัวข้อถัดไป) เงินสดย่อย (Petty Cash) การป้องกันการทุจริตในการจ่ายเงินที่มีจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย กิจการอาจใช้วิธีการกำหนดเงินสดย่อยและมอบหมายให้พนักงานทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายเงินสดย่อย ซึ่งเรียกว่า “ผู้รักษาเงินสดย่อย” วิธีการเกี่ยวกับเงินสดย่อย มีดังนี้ การตั้งวงเงินสดย่อย กิจการต้องกำหนดวงเงินสดย่อยให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายของกิจการ และวางระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินจำนวนที่กิจการกำหนดไว้ จากนั้นแผนกการเงินจะจ่ายเช็คให้แก่ผู้รักษาเงินสดย่อยตามจำนวนวงเงินสดย่อย และผู้รักษาเงินสดย่อยนำเช็คไปเบิกจากธนาคารและเก็บรักษาเงินสดไว้

สมมติว่ากิจการกำหนดวงเงินสดย่อยไว้ 3,000 บาท พนักงานบัญชีจะบันทึกบัญชี ดังนี้ Dr.เงินสดย่อย 3,000 Cr.เงินฝากธนาคาร 3,000 การจ่ายเงินสดย่อย เมื่อมีผู้มาขอเบิกเงินสดย่อยผู้รักษาเงินสดย่อยจะจัดทำใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยเพื่อเป็นหลักฐานในการจ่ายเงินสดย่อย และเก็บไว้เพื่อรวบรวมขอเบิกชดเชยเงินจากแผนกการเงินต่อไป เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบการจ่ายเงินสดย่อยของผู้รักษาเงินสดย่อย

ผู้รักษาเงินสดย่อยจะมีการจดบันทึกของตนเอง การบันทึกดังกล่าวไม่ได้เป็นการบันทึกบัญชีของกิจการเป็นเพียงแค่บันทึกทรงจำ (Memo) ของผู้รักษาเงินสดย่อยเท่านั้น บันทึกที่ผู้รักษาเงินสดย่อยอาจจะจัดทำในรูปของสมุดเงินสดย่อย การเบิกชดเชยเงินสดย่อย เมื่อถึงกำหนดการเบิกชดเชยเงินสดย่อยตามที่กิจการกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเบิกชดเชยทุกสิ้นเดือน หรือบางกิจการอาจจะกำหนดการเบิกชดเชยเงินสดย่อยจากจำนวนที่เหลือขั้นต่ำที่ผู้รักษาเงินสดย่อยถืออยู่ก็ตาม ผู้รักษาเงินสดย่อยต้องสรุปยอดใบสำคัญจ่ายเงินสดย่อยที่ได้จ่ายไปแล้วเพื่อขอชดเชยจากแผนกการเงิน แผนกการเงินตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะจ่ายเช็คให้แก่ผู้รักษาเงินสดย่อยตามจำนวนเงินที่ผู้รักษาเงินสดย่อยได้จ่ายไปแล้ว ซึ่งตามวิธีนี้ถ้าไม่มีการเพิ่มหรือลดวงเงินสดย่อย ก็จะทำให้ยอดของเงินสดย่อยมียอดคงที่อยู่เสมอ

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

อ่านบทความทั้งหมด >>> รับทำบัญชี.com

ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล?

ตัวอย่างตลาดออนไลน์ ตลาดออนไลน์ หมายถึง การตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ หมายถึง ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์

มีเอกสาร หลักฐาน ที่ต้องเตรียมไว้อะไรบ้างในการ จดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท มีกี่แบบ เอกสารจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท คนเดียว ขั้น ตอน การ จดทะเบียน บริษัท คนเดียว ตัวอย่างจดทะเบียนบริษัท เอกสาร จดทะเบียน บริษัท ในการจดทะเบียนนิติบุคคล ต้องมีการเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ให้พร้อม ยกเว้นข้อใด จดทะเบียนบริษัท 2 คน
สรุปการเปรียบเทียบ กิจการต่าง เป็นอย่างไร

จดเปิด บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ดี?

ข้อดี ข้อเสีย ระหว่าง หจก กับ บริษัท  ตารางเปรียบเทียบ ห้างหุ้นส่วน บริษัท  จดทะเบียน หจก คนเดียว หจก กับ บริษัท เสียภาษีต่างกันอย่างไร ห้างหุ้นส่วนจํากัด มีอะไรบ้าง ห้างหุ้นส่วน ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วน จํา กัด ข้อดี ข้อเสีย จดทะเบียน หจก ที่ไหน
ฐานภาษี

ฐานภาษี สำคัญ คืออะไร มีอะไรบ้าง? 2566-67

ฐานภาษี 2566 ฐานภาษี 2565 บุคคลธรรมดา ฐานภาษีคืออะไร ฐานภาษี 2565 ฐานภาษี คืออะไร มีอะไรบ้าง ฐานภาษี 2564 บุคคลธรรมดา ฐานภาษีบุคคลธรรมดา ฐานภาษี เงินเดือน

วิธีการตลาดสินค้าออนไลน์ รายได้ ความเสี่ยง?

ตัวอย่างตลาดออนไลน์ ตลาดออนไลน์ หมายถึง การตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ หมายถึง ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์
ปก ขายของออนไลน์อะไรดี

แนะนำ 3 ขั้นตอน เริ่มต้น ขายของออนไลน์

วิธีขายของออนไลน์มือใหม่ อยากขายของออนไลน์ ขายอะไรดี อาชีพขายของออนไลน์ ภาษาอังกฤษ วิธีสมัครขายของออนไลน์ อยากขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้จะขายอะไรดี ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ เริ่ม ขายของออนไลน์ ไม่สต๊อกสินค้า เริ่มต้นขายของ
งบการเงินของธุรกิจประกันภัย

ธุรกิจประกันภัย ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจประกันภัย คือ ธุรกิจประกันภัย เงินเดือน สายด่วน คปภ เวลาทำการ ต่ออายุบัตรนายหน้าประกันวินาศภัย ออนไลน์ วิธีร้องเรียน คปภ ต่อใบอนุญาตออนไลน์ คปภ ยื่นต่อใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย 2567 ออนไลน์ ร้องเรียน ค ป ภ ประกันภัย รถยนต์ ใกล้ฉัน ออนไลน์

Leave a Comment

Scroll to Top