Work Permit
Work permit หรือ ภาษาไทยเราเรียกว่าใบอนุญาตทำงานของชาวต่างชาติ คือกรณีที่ชาวต่างชาติที่จะทำงานในประเทศใดๆ ก็จะต้องไปขอ work permit ของประเทศนั้นๆ เช่นเดี๋ยวกัน ถ้าเป็นคนไทยจะไปทำงานต่างประเทศก็ต้องไปขอ work permi t ที่ต่างประเทศแต่ ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ต้องการทำงานในไทยต้องมาขอใบอนุญาตทำงานก่อนที่จะทำงาน
ใบอนุญาตทำงาน คือ ใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ เป็นเอกสารสำคัญของชาวต่างชาติเมื่อต้องเดินทางไปทำงานในประเทศอื่น ๆ เพื่อทำธุรกิจ กิจการ หรือการเป็นลูกจ้างตามระยะเวลาที่กำหนด โดยนายจ้างในแต่ละประเทศเป็นผู้ดำเนินการขอให้ โดยจะต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงานของประเทศนั้นให้สามารถรับลูกจ้างต่างชาติได้ เมื่อหมดอายุต้องต่อใหม่ทันที และหากลูกจ้างเปลี่ยนที่ทำงานเปลี่ยนนายจ้างก็ต้องดำเนินการขอใหม่ เช่น ถ้าคนไทยอยากไปทำงานที่ประเทศจีน นอกจากจะต้องมีทักษะภาษาจีนแล้ว ยังต้องขอวีซ่าทำงานประเภท Z ซึ่งกำหนดว่าต้องมีประสบการณ์ทำงานสายนั้น 2 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม โดยสิ่งที่ต้องมีในการขอวีซ่านี้คือ ใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ และจดหมายเชิญจากหน่วยงานที่ประเทศจีนที่ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น วีซ่าจะมีอายุ 3 เดือน หลังเดินทางถึงจีนต้องขอใบอนุญาตขอพำนักระยะยาว (Residence Permit) เพื่อให้อยู่ทำงานได้สูงสุดถึง 5 ปี เป็นต้น
Work Permit คืออะไร
Work permit คือ ใบอนุญาตประกอบอาชีพสำหรับชาวต่างชาติ เป็นเอกสารสำคัญของชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย โดยชาวต่างชาติจำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานต่อกระทรวงแรงงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 หากชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อทำงาน แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษตั้งแต่ปรับ จำคุก หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
คุณสมบัติขอใบอนุญาตทำงาน
คุณสมบัติของต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
- คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (Non-Immigrant) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน ( TOURIST/TRANSIT ) ซึ่งจะอนุญาตทำงานในครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงขอใหม่
- มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
เอกสารยื่น Work Permit
เอกสารสำคัญสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
- แบบรับคำขอ ตท.1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 ซม. จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์โพลาลอยด์)
- หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบที่กำหนด)
- สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
- สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน (กรณีไม่นำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้)
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามคุณสมบัติตามข้อ 3 ในข้างต้น (ไม่เกิน 6 เดือน)
- แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าวติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้าคนต่างด้าวไม่มายื่นคำขอด้วยตนเอง)
- หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้างติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ
Work permit มีกี่แบบ
ใบอนุญาตทำงานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
- ใบอนุญาตเล่มสีน้ำเงิน (ตท.11) สำหรับแรงงานที่อยู่ในกลุ่มช่างฝีมือหรือชำนาญการ แรงงานนำเข้าตาม MOU แรงงานที่ผ่านการตรวจสอบสัญชาติและข้อมูลส่วนบุคคลในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว และแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งต้องใช้คู่กับบัตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติในข้อ 5
- ใบอนุญาตแผ่นสีเหลือง (ตท.15) สำหรับแรงงานที่ทำงานตามฤดูกาล เดินทางไป-กลับระหว่างประเทศของตนเองกับแหล่งทำงานตามแต่ช่วงที่มีงานเข้ามาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551
- ใบอนุญาตเล่มสีส้ม (ตท.11) สำหรับแรงงานที่ทำหน้าที่ในกิจการเกี่ยวกับการประมง ครอบคลุมในทุกกลุ่มงานทางทะเล ยกเว้นแรงงานประมงทะเลในข้อ 4
- ใบอนุญาตบัตร 3 สัญชาติ (บัตรสีชมพู) สำหรับแรงงานกลุ่มที่จดทะเบียนตามมติ ครม. ซึ่งอนุญาตให้ทำงานได้ในกิจการหลากหลายประเภท รวมถึงกิจการประมงทะเล โดยจะมีการระบุข้อความในใบอนุญาตว่า “ใบอนุญาตทำงาน” และระบุใบอนุญาตสีตามสัญชาติ ได้แก่ เมียนมา-สีเขียว ลาว-สีฟ้า กัมพูชา-สีน้ำตาล
- บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่ใช่สัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) แต่ไม่ใช่ใบอนุญาตทำงาน และไม่มีการระบุข้อความว่า “ใบอนุญาตทำงาน” แต่มีการระบุตามสัญชาติเช่นเดียวกับข้อ 4 ใช้สำหรับแรงงานกลุ่มที่จดทะเบียนในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำและประมงทะเล โดยจะได้รับใบอนุญาตทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการ ซึ่งต้องมีใบอนุญาตเล่มสีน้ำเงิน (ตท.11) ตามข้อ 1 หรือใบอนุญาตเล่มสีส้ม (ตท.11) ตามข้อ 3 ประกอบด้วย
เอกสารตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
No. | กิจการ | เอกสารที่ต้องเตรียม |
---|---|---|
1 |
สถานประกอบการเอกชน |
|
2 |
โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน |
|
3 |
หน่วยงานราชการ |
|
4 |
มูลนิธิหรือสมาคม |
หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ สมาคม วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ |
5 |
กิจการถ่ายหรือทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ |
หมายเหตุ 1. เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
|

อ่านบทความทั้งหมด >>> รับทำบัญชี.com

บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสัญญาจ้าง
บัญชี ภาษี ช้อปปิ้ง ลาซาด้า ติ๊กตอก !
กระบองเพชร ภาษี กิจการค้า รายรับ รายจ่าย !
วาดสติ๊กเกอร์ ธีม LINE ขาย รายรับ รายจ่าย โอกาส !
คอมพิวเตอร์ บันทึก เป็นอะไรดีนะ คอมพิวเตอร์
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษี ยังไง