กิจการโรงแรม
บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี ธุรกิจโรงแรม โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหาเรื่องบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี
- ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
- Email : 9622104@gmail.com
- Line Official Account : @e200
- ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน
อุตสาหกรรมโรงแรม : ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับโรงแรม!
โรงแรมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมการบริการในวงกว้าง โดยให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการที่พักค้างคืน มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจการให้บริการ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในขอบเขต
อุตสาหกรรมโรงแรม
อุตสาหกรรมโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับที่พักหรือที่พักของแขก ตามคำจำกัดความส่วนใหญ่ อุตสาหกรรมโรงแรมไม่ได้หมายถึงเฉพาะโรงแรมเท่านั้น แต่ยังหมายถึงที่พักค้างคืนในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โฮสเทล โมเต็ล อินน์ และเกสต์เฮาส์ อย่างไรก็ตาม โดยปกติจะไม่รวมถึงที่พักระยะยาวหรือถาวร
เนื่องจากลักษณะการบริการของโรงแรมมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว
คำศัพท์เกี่ยวกับกิจการโรงแรม
- ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หมายความว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้จัดการ หมายความว่าผู้จัดการโรงแรมตามพระราชบัญญัติ
- ผู้พัก หมายความว่าคนแดนทางหรือบุคคลอื่นใดที่ใช้บริการที่พักชั่วคราวของโรงแรม
- ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
- นายทะเบียน หมายความว่าผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
- Check in หมายถึง การเข้าพัก
- check out หมายถึง คืนห้องพัก ก่อนออกจากห้องให้โทรศัพท์แจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ก่อน ว่าต้องการจะคืนห้อง
- Receptionist หรือ Reception แปลว่าพนักงานต้อนรับส่วนหน้า
- Complimentary หมายถึง อภินันทนาการฟรี ไม่คิดค่าบริการ
- Term and Conditions หมายถึง ข้อตกลงและเงื่อนไข ก่อนเข้าพัก
- Accommodation หมายถึง การอำนวยความสะดวก
- Facility หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวก
- Recreation หมายถึง สถานที่หรือกิจกรรมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
3 รูปแบบธุรกิจโรงแรม
- โรงแรมเพื่อการพาณิชย์ หรือโรงแรมแขกพักไม่ประจำ (Commercial or Transient Hotels)
โรงแรมประเภทนี้มีมากกว่าประเภทอื่นๆ ทำเลที่ตั้งอยู่ในเมือง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการติดต่อธุรกิจ แขกซึ่งพักในโรงแรมดังกล่าวแล้ว เป็นนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเช่าอยู่เป็นที่พักประจำ
- โรงแรมแขกพักประจำ (Residential Hotels) มีวัตถุประสงค์ในการให้แขกเช่าพักอาศัยอยู่ประจำ
มีการจัดห้องอาหารบริการแก่แขกและลูกค้าทั่วไป ทำเลที่ตั้โดยปกติแล้วอยู่ในบริเวณชานเมืองเพื่อเหมาะแก่การเป็นที่พักอาศัย แต่ก็มีบางโรงแรมตั้งอยู่ใกล้ย่านธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกในการติดต่อการงาน
- โรงแรมรีสอร์ท (Resorts Hotel) มักตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพื่อให้แขกได้พักผ่อน
สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง โรงแรมต้องจัดบริการต่างๆ โดยเน้นบริการทางด้านการกีฬา และนันทนาการตลอดจนกิจกรรมในการบันเทิงอื่นๆ ให้กับแขกผู้มาพัก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในด้านการพักผ่อนเป็นหลัก
การจัดประเภทของโรงแรม
แบ่งการจัดประเภทออกเป็น 3 หมู่ คือ 1.) การจัดประเภทตามลักษณะการเข้าพัก 2.) การจัดประเภทตามความเป็นเจ้าของ 3.) การจัดประเภทตามขนาด
1.) จัดประเภทตามลักษณะการเข้าพัก
- โรงแรมสำหรับเข้าพักชั่วคราว( Transient hotel ) โรงแรมส่วนใหญ่จะจัดเป็นประเภทนี้เนื่องจากเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่เดินทางมาติดต่อธุรกิจ ระยะเวลาการเข้าพักโดยเฉลี่ยจะอยู่ในช่วง 1 คืนถึง 7 คืนเป็นอย่างมาก โรมแรมประเภทนี้ที่เป็นโรงแรมใหญ่จะให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วนแก่แขกที่มาพัก
- โรงแรมสำหรับเข้าพักประจำ( residential hotel ) เป็นโรงแรมที่ให้เช่าห้องพักในระยะยาวกว่าประเภทแรก เช่น อาจให้เช่าเป็นระยะเวลา1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น
2.) จัดประเภทตามความเป็นเจ้าของ
การแบ่งตามความเป็นเจ้าของและการเป็นสมาชิกในสถาบันโรงแรม (Ownership and Affiliation) แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- โรงแรมอิสระ คือโรงแรมที่ตำเนินงานเองโดยไม่มีความสัมพันธ์กับธุระกิจอื่น
โรงแรมบริหารงานอย่างอิสระ (Independent Hotels) โรงแรมประเภทนี้บุคคลคน เดียวหรือคณะบุคคลเป็นเจ้าของ การบริหารงานเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับโรงแรมอื่นๆ จึงทำให้มีความคล่องตัว และมีอำนาจในการบริหารงาน แต่ก็มีข้อจำกัดในด้านประสบการณ์ในการบริหารงาน การสร้างเครือข่ายด้าน การตลาด และการขยายธุรกิจในอนาคต
- โรงแรมในเครือ แบ่งเป็นบริษัทใหญ่ บริษัทจะเป็นเจ้าของโรงแรมหลายแห่งซึ่งใช้ชื่อเดียวกันโดยมีผู้จัดการโรงแรมรายงานต่อสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานกางของบริษัท ปกติบริษัทใหญ่จะกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับโรงแรมทั้งหมดที่อยู่ในเครือ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจในเรื่องที่ใหญ่และสำคัญ เช่น การตัดสินใจลงทุน ฯลฯ
โรงแรมเครือข่าย (Chain Hotels) โรงแรมเครือข่ายจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- การบริหารโดยบริษัทแม่ (Parent Company) โรงแรมเครือข่ายในลักษณะนี้ ทรัพย์สิน การบริหารงาน เป็นของบริษัทแม่ทั้งหมด
- การบริหารโดยพันธสัญญา (Management Contract) เป็นรูปแบบหนึ่งของ การบริการโรงแรมแบบเครือข่าย ทรัพย์สินในการจัดสร้างโรงแรมเป็นของบุคคลภายนอกบริษัทแม่ แต่ต้องการ ใช้ระบบการบริหารงานแบบเครือข่าย
- การบริหารงานแบบแฟรนไชส์ (Franchise Groups) ระบบแฟรนไชส์จะวาง ระบบการจัดการบริหารหน้าที่ของบุคลากร การวางแผนพัฒนาองค์กร ระบบการตลาดออกแบบในการตกแต่ง โรงแรม การใช้วัสดุอุปกรณ์ และการวางระบบงานบริการให้ได้มาตรฐาน เจ้าของธุรกิจโรงแรมในระบบแฟรน ไชส์มีสิทธิ และอ านาจในการจัดการแต่ต้องสอดคล้องกับข้อตกลงซึ่งให้ไว้กับระบบแฟรนไชส์ การจัดแบ่งประเภทของโรงแรมดังกล่าวแล้ว ยังไม่มีข้อตกลงสากล ดังนั้นการจัดแบ่งประเภท จึงแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดประเภทว่าใช้หลักการอะไร เช่น การเข้าพักอาศัย ที่ตั้ง ของโรงแรม การบริการ การบริหาร ราคาห้องพัก ขนาดของโรงแรม หรือหลักการอื่นๆ
ตัวอย่าง โรงแรมเครือข่าย
- Hilton โรงแรมในเครือเช่น Hilton, Double tree, Conrad, Waldorf Astoria
- Starwood โรงแรมในเครือเช่น W Hotels, Westin, Sheraton, St. Regis, Le Meridien ภายหลังควบรวมกับ Marriott
- AccorHotels โรงแรมในเครือเช่น Ibis, Mercure, Novotel, Sofitel, Pullman, Swissotel เป็นต้น
3.) จัดประเภทตามตามขนาด
การจัดประเภทตาขนาดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใช้มาตราฐานไหนในการจัด โดยใช้เกณฑ์ขนาดห้อง จำนวนห้อง พื้นที่ห้อง แต่ปกติการวัดโดยทั้วไปเมื่อแบ่งแล้วก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 ขนาด คือ 1.) ขนาดเล็ก 2.) ขนาดกลาง และ 3.) ขนาดใหญ่
ขนาดของโรงแรมอาจใช้จำนวนห้องพักเป็นเครื่องวัดโดยอาจจัดประเภทดังนี้
- โรงแรมชนาดเล็ก ได้แก่โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักน้อยกว่า 100 ห้อง
- โรงแรมขนาดกลาง ได้แก่โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักมากกว่า 100 ห้อง แต่ไม่เกิน 300 ห้อง
- โรงแรมขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 300ห้องขึ้นไป
เครดิต : revfine.com / กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ / old.elearning.yru.ac.th / sme.go.th
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี