สินทรัพย์ถาวร

สินทรัพย์ถาวร Fixed Asset บัญชีหมวดไหน บันทึกปรับปรุงอย่างไร?

Click to rate this post! [Total: 173 Average: 5] สินทรั …

สินทรัพย์ถาวร Fixed Asset บัญชีหมวดไหน บันทึกปรับปรุงอย่างไร? Read More »

Click to rate this post!
[Total: 173 Average: 5]

สินทรัพย์ถาวรจะแบ่งออกเป็น กี่ประเภท

สินทรัพย์ถาวรจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Fixed Assets) เป็นสินทรัพย์ประเภทที่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ สัมผัสได้ ซึ่งโดยปกติแล้วสินทรัพย์ที่มีตัวตนจะแบ่งเป็น

  1. ไม่ต้องหักค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาเนื่องจากอายุการใช้งานไม่จำกัด เช่น ที่ดิน
  2. ต้องคิดค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคา (Depreciation) เนื่องจากสามารถกำหนดอายุการใช้งาน เช่น เครื่องจักร อาคาร เครื่องใช้สำนักงาน
  3. ต้องหักค่าเสื่อมสิ้น (Depletion) เนื่องจากใช้แล้วหมดไปไม่สามารถทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ เหมืองแร่ บ่อก็าช

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Fixed Assets) เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีสภาพเป็นวัตถุมองเห็นได้ ไม่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ แต่ยังคงมีมูลค่าหรือสิทธิในสินทรัพย์นั้นที่สามารถวัดค่าเป็นตัวเงินได้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ต้องตัดบัญชี (Amortized) เนื่องจากระยะเวลาของสิทธิที่ได้รับลดลงตามส่วนของค่าที่ลดลง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัญญาเช่า
  2. ไม่ต้องตัดบัญชี เนื่องจากไม่มีการเสื่อมค่าหรือเสื่อมมูลค่าของสินทรัพย์นั้น เช่น ค่าความนิยม และเครื่องหมายการค้า
สินทรัพย์ถาวร
สินทรัพย์ถาวร

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (Property, Plant And Equipment)

เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งกิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในกา รผลิต เพื่อจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ ให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน และคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงนตามปกติหรือมากกว่า 12 เดือน ในการจัดซื้อสินทรัพย์ถาวรเพื่อนำไปใช้ในกิจการนั้นจะต้องคำนึง ถึงมูลค่าหรือราคาทุนของสินทรัพย์ถาวร การคิดค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาประกอบการบันทึกบัญชี อย่างไรก็ดีนักบัญชีจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินทรัพย์ถาวรมาพิจารณาด้วย

ราคาทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

         หมายถึงจำนวนเงินสดหรือมูลค่าเทียบเท่าเงินสดที่กิจการได้จ่ายไปหรือราคายุติธรรมที่ได้กำหนดโดยบุคคลอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน ณ เวลาที่กิจการได้เข้าครอบครองทรัพย์ หรือ ณ เวลาที่กิจการได้สร้างทรัพย์สินนั้นเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน (Cost of Acquisition) จึงถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินนั้นจะต้องนำไปคิดค่าสึกหลอและค่าเสื่อม ซึ่งต้นทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ประกอบด้วย

  1. ราคาที่ซื้อ
  2. ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ในการนำมาซึ่งทรัพย์ เช่นค่าภาษีนำเข้า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าขนส่ง ค่าจ้าง ค่าติดตั้ง
  3. ส่วนลดการค้าต่างๆที่อาจได้รับคืนจากเงินค่าภาษี ซึ่งจะต้องนำมาหักออกจากราคาที่ซื้อมา
  4. หากมีกู้ยืมเกิดขึ้นในช่วงเวลาหาที่ได้รับทรัพย์นี้มา เงินที่จ่ายออกคือดอกเบี้ยจ่าย
  5. ภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หมายถึง
    • ภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อซึ่งอาจเกิดจากการซื้อรถยนต์ ถือเป็นต้นทุนของรถยนต์ ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อนั้น ต้องนำไปรวมกับมูลค่าของรถยนต์แล้วจึงนำไปคิดค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาต่อไป
    • กรณีไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการซื้อทรัพย์ซึ่งผู้ประกอบการรายอื่นเรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อ แต่กิจการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินถือเป็นต้นทุน
  6. ค่าใช้จ่ายการบริหารและทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้ทรัพย์สิน หรือทำให้ทรัพย์สินขึ้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน

ต้นทุนของสินทรัพย์ถาวร (Cost of Fixed Assets)

เมื่อกิจการได้มีการซื้อสินทรัพย์เข้ามาใช้ในกิจการจะต้องบันทึกสินทรัพย์นั้นในบัญชีด้วยราคาทุนของสินทรัพย์ ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆก็คืออะไรบ้างที่ถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์แต่ละประเภทและค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์จะต้องนำมาถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์นั้นต้นทุนของสินทรัพย์โดยมากแล้วจะประกอบไปด้วยราคาที่ซื้อมาบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์นั้น หรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้กิจการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งแยกรายละเอียดของต้นทุนสินทรัพย์แต่ละประเภทได้คือ

  1. ที่ดิน (Land) กิจการบางแห่งมีความจำเป็นต้องมีที่ดินเพื่อการก่อสร้างหรือเพื่อขยายกิจการในอนาคต
  2. อาคาร (Building) กิจการบางแห่งมีความจำเป็นต้องมีอาคารของตนเองเป็นกรรมสิทธิ์
  3. อุปกรณ์และเครื่องใช้ประจำอาคาร (Building Equipment) อุปกรณ์ที่อยู่ติดกับตัวอาคารไม่สามารถถอน หรือเคลื่อนย้ายได้สะดวกง่ายดาย เช่นระบบไฟฟ้า โทรศัพท์
  4. เครื่องจักร (Plant and Machinery) กิจการอุตสาหกรรมที่มีการผลิตวัตถุดิบออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปมีความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องจักไว้ใช้ในการผลิตเพื่อการจำหน่าย
  5. เครื่องตกแต่งและติดตั้ง (Furniture and Fixture) เป็นสินทรัพย์ถาวรที่ใช้ในการประดับ เช่นตู้ โต๊ะ เก้าอี้
  6. เครื่องใช้สำนักงาน (Office Equipment) เป็นสินทรัพย์ที่ใช้ภายในสำนักงานที่สามารถเคลื่อนย้ายได้
  7. ยานพาหนะ (Vehicle) เป็นพาหนะหรือยวดยานที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ในการขนส่ง ตลอดจนมีไว้เพื่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่นรถบรรทุก รถจักรยานยนต์
  8. เครื่องมือ (Tools) เป็นอุกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงาน
  9. สินทรัพย์ถาวรอื่น เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตรอื่นๆที่มีอยู่ในกิจการ

ความหมายของคำว่าสินทรัพย์ถาวร

ความหมายของคำว่าสินทรัพย์ถาวร (Long-Lived Assets or Fixed Assets)
เป็นกรรมสิทธิ์ที่กิจการพึงมีสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิที่ใช้เรียกร้องซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีลักษณะคงทนถาวรที่นำมาใช้ในการดำเนินกิจการและสามารถใช้ได้นานกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติหรือ 1 ปี
โดยกิจการมิได้มีไว้เพื่อขาย จำหน่ายต่อ แต่กิจการมีไว้เพื่อใช้งานในการแสดงรายการสินทรัพย์ถาวรในงบดุบด้านสินทรัพย์ในปัจจุบันและแสดงในหัวข้อ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ลักษณะของสินทรัพย์ถาวรจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ
1. มีลักษณะคงทนถาวรโดยสภาพ และมีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี
2. มีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน ไม่ได้มีไว้เพื่อขาย
สินทรัพย์ถาวรจะแบ่งออกเป็น กี่ประเภท

อ่านบทความทั้งหมด >>> รับทำบัญชี.com

แพลตฟอร์ม ร้านค้าออนไลน์

แพลตฟอร์ม ร้านค้า ออนไลน์ ยอดนิยม?

ร้านค้าออนไลน์ยอดนิยม ร้านค้าออนไลน์ มีอะไรบ้าง ร้านค้าออนไลน์ หมายถึง เปิดร้านค้าออนไลน์ รายชื่อร้านค้าออนไลน์ สมัครร้านค้าออนไลน์ ตัวอย่างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ขายของออนไลน์ที่ไหนดี 2566 แพลตฟอร์ม ขายของออนไลน์ต่างประเทศ
ขนส่งเข้าระบบภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการ ขนส่ง?

กิจการขนส่ง ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขนส่งที่ ไม่ใช่ ขนส่งสาธารณะ ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร ประกอบกิจการขนส่งสินค้า ขนส่งใน ราช อาณาจักร ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าขนส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม  การวางแผนภาษีธุรกิจขนส่ง ค่าขนส่ง หัก ณ ที่จ่าย 1% ขนส่งเป็นปกติธุระ หมาย ถึง

เครื่องเสียงรถยนต์ รายรับ รายจ่าย โอกาส?

เครื่องเสียงรถยนต์  เครื่องเสียงรถยนต์ ยี่ห้อไหนดี เครื่องเสียงรถยนต์ งบ เครื่องเสียงรถยนต์ราคาประหยัด ราคาเครื่องเสียงรถยนต์ครบชุด ชุดเครื่องเสียงรถยนต์ พร้อมติดตั้ง

บัญชี #2•บริษัทขนส่ง สินค้า รายจ่ายค่าภาษี?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย บริษัทขนส่ง j&t บริษัทขนส่งแฟลช บริษัทขนส่งมีอะไรบ้าง บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ รายชื่อบริษัทขนส่งในประเทศไทย บริษัทขนส่งพัสดุ บริษัทขนส่งต่างประเทศ บริษัทขนส่งสินค้า ใกล้ฉัน ออนไลน์
เปิดร้านอาหาร

รับจ่าย ไอเดียเปิดร้านอาหาร เรียน ตัวอย่าง?

ร้านอาหาร ไอเดียเปิดร้านอาหาร การจดทะเบียนร้านอาหาร แชร์ประสบการ์ณร้านอาหาร ต้นทุนร้านอาหาร ทําบัญชีร้านอาหาร excel เรียน ทำบัญชีร้านอาหาร บัญชีร้านอาหาร ฟรี บัญชีรายรับรายจ่ายร้านอาหาร บัญชีร้านอาหาร pantip ตัวอย่าง บัญชีร้านกาแฟ รายรับรายจ่ายร้านอาหารตามสั่ง บัญชีร้านกาแฟ excel

วิธีการเลือก บริษัทรับทำบัญชี ออนไลน์?

ขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชี ครั้งแรก ลืม แจ้งเป็นผู้ทำบัญชี แจ้งทําบัญชีเพิ่ม ภายในกี่วัน ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทําบัญชี ขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชี ออนไลน์ แจ้งเพิ่มบริษัท ผู้ทําบัญชี

แฟรนไชส์บุฟเฟ่ต์ รวม ที่นิยม อะไรบ้าง

แฟรนไชส์บุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง แฟรนไชส์สุกี้ตี๋น้อย ราคา แฟรนไชส์สุกี้จินดา ราคา แฟ รน ไช ส์ ชา บู ตี๋น้อย แฟรนไชส์ชาบู แฟรนไชส์สุกี้ดารา ราคา แฟรนไชส์ชาบูเสียบไม้ แฟรนไชส์ สุกี้จินดา pantip

Leave a Comment

Scroll to Top