ค่าลดหย่อนบุตร ที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร

รับทำบัญชี.COM | ค่าลดหย่อนบุตรที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร?

ค่าลดหย่อนบุตร ที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร

1. ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม)

2. สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (1) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นสามีหรือภริยาชอบด้วยกฎหมาย การสมรส ไม่ครบปีภาษีก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ เช่น จดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี หรือตายในระหว่างปีภาษี ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท (2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่จะนำมาหักลดหย่อนจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินหรือมีแต่ไม่ได้แยกคำนวณภาษี ตัวอย่าง สามีภริยาแต่งงานครบปีภาษีและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทที่ 1 กรณีดังกล่าว ภริยาสามารถแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีได้โดยชอบ ทั้งสามีภริยาจึงไม่มีสิทธินำคู่สมรสมาหักลดหย่อนได้ แต่หากภริยามีเงินได้ประเภทอื่น (2-8) ให้สามีนำเงินได้ของภริยามารวมคำนวณและมีสิทธินำคู่สมรสมาหัก ลดหย่อนได้

3. การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรที่เกิด ก่อนหรือ ในพ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท บุตรที่เกิด หลัง พ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะ บุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตร ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท หรือเป็น ผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้ หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้ ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 ให้ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้ในฐานะเดียว

ตอบ: หลายท่านที่ทำงานบริษัท เมื่อครบปีต้องมีการยื่นภาษีประจำปี บางท่านอาจไม่มีข้อสงสัยสำหรับรายการหักลดหย่อนเท่าไรนัก เนื่องจากยังไม่สามารถใช้สิทธิของตนเองให้เต็มที่ หรือท่านอาจไม่ได้สนใจกับบางรายการที่ช่วยให้ท่านเสียภาษีลดลงแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้ที่ต้องยื่นเสียภาษีประจำปีด้วยตนเอง อาจรู้สึกงุนงงกับรายการลดหย่อนบางรายการอยู่บ้าง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และสิ่งที่เรากรอกไปนั้นถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะท่านที่สามารถหัก ลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งตามหลักเกณฑ์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป หรือพูดง่ายๆ สำหรับท่านที่ต้องการยื่นปีภาษี 2553 บิดามารดาของท่านต้องเกิดในปี 2493 หรือปีก่อนหน้านั้นจึงจะสามารถใช้สิทธิได้ และต้องมีรายได้ ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาทนั่นเอง

2. ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน) และการหักลดหย่อนหักได้ตลอดปีภาษี กล่าวคือ หากบิดาหรือมารดาเกิดวันที่ 1ธันวาคม 2493 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดาหรือมารดาได้ เต็มจำนวนคือ 30,000 บาท ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาต้องมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาทด้วย

3. การหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และหักลดหย่อนได้สำหรับบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ 30,000 บาท หมายถึงหากบิดามารดาของเราเข้าข่ายในเรื่องของอายุและรายได้แล้ว เราสามารถหักลดหย่อนบิดาจำนวน 30,000 บาท และมารดาจำนวน30,000 บาท รวมหักค่าลดหย่อนบิดามารดาตนเองได้ 60,000 บาท (ทั้งนี้ บิดามารดาต้องกรอกหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03) ด้วยว่าให้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูกับบุตรคนใด หากให้สิทธิกับบุตรคนใดคนหนึ่งแล้วจะไม่สามารถให้สิทธิซ้ำกับบุตรคนอื่นๆ ได้ ทั้งนี้สามารถเปลี่ยนสิทธิให้กับบุตรได้ทุกปี) เช่น ปี 2553 นายสมชาย และนางสมศรี ให้สิทธิลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูกับบุตรคนโต (นายสมศักดิ์) ทำให้นายสมศักดิ์หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้รวม 60,000 บาท (ลดหย่อนท่านละ 30,000 บาท) ส่วนนายสมใจ (บุตรคนเล็ก) ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวซ้ำได้ ทั้งนี้ ในปี 2554 นายสมชายและนางสมศรีสามารถเปลี่ยนสิทธิให้กับนายสมใจได้ หรือนายสมชายสามารถให้สิทธิบุตรคนใดคนหนึ่ง และนางสมศรีให้สิทธิกับบุตรคนที่เหลือได้เช่นกัน

 
ค่าลดหย่อนบุตร ที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )