ฟรีแลนซ์
การจะรับงานโดยอยู่ในรูปแบบการ จดทะเบียนนิติบุคคล หรือรับงาน แบบบุคคลธรรมดา เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ ฟรีแลนซ์ ( Freelance ) หลายคนกำลังกังวลและตัดสินใจอยู่ว่าจะทำยังไงดี ดังนั้นวันนี้เรามาดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจกันว่าเราจะทำเป็นนิติบุคคล หรือทำเป็นบุคคลธรรมดาดี เรามาทำความรู้จัก ฟรีแลนซ์ กันก่อน
ฟรีแลนซ์ ( freelance ) หรือ ฟรีแลนซ์เซอร์ ( feelancer ) คือ ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงาน หรือองค์กร หรือบริษัทใด ๆ พนักงานฟรีแลนซ์จะต้องจัดตารางเวลาการทำงานของตนเอง การรับเงินจากนายจ้าง ก็จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
ประเภทของฟรีแลนซ์
- ตลาดผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางที่ต้องการทักษะสูง
- ตลาดผู้เชี่ยวชาญ อาชีพโดยทั่วไปที่ต้องการความรู้และทักษะ
- ตลาดผู้ปฏิบัติงาน โดยทั่วไปที่ไม่ต้องการความรู้หรือทักษะสูงนัก
สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องเจอ
1. เวลา
เรื่องของเวลา ที่ไม่มีตารางเข้างานที่แน่นอน และในทางกลับกัน เวลาที่เลิกงาน ก็ไม่แน่นอนเช่นกัน อยู่ที่ว่าช่วงนั้นคุณงานยุงแค่ไหน และทำงานเสร็จทันเวลาหรือไม่ ที่สำคัญคุณต้องกำหนดเวลาทำงานของตัวเองให้ได้
2. อาหาร
การที่เราไม่มีเวลาในการทำงาน ทำให้การทานอาหารไม่ตรงตามตารางชีวิตที่เคยเป็นมาอย่างแน่นอน เพราะตั้งแต่ วัยเรียน เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับตารางการกินที่คล้ายกัน หรือแทบจะเหมือนกันหมดเลย คือต้องมีการกินอาหารเช้าก่อนไปเรียน และพักเที่ยงเพื่อทานอาหารกลาง ส่วนมื้อเย็น ก็แล้วแต่ว่าจะถึงบ้านตอนไหน แต่หาคุณเป็นฟรีแลนซ์ แล้วละก็ลืมมันมันไปได้เลยเพราะเวลาทำงานคุณเป็นคนกำหนดเองนั้นเอง
3. สุขภาพร่างกาย
เรื่องนี้ไม่พูดถึงไม่ได้ เป้นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอเอาจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานลักษณะฟรีแลนซ์ ก็ต้องพบเจอกับปัญหาสุขภาพได้ แต่ของพูดในลักษณะ การประกันสุขภาพที่ หรือการทำประกัน ที่ฟรีแลนซ์ต้องพบเจอแน่ๆ คือการป่วย โดยที่งานยังไม่เสร็จ หากเป็นงานประจำยังมีโอกาศลาป่วยตามกฎหมาย แต่หากเป็นฟรีแลนซ์ แม้ป่วย แต่หากงานไม่เสร็จก็ต้องฝืนส่งงานให้ทันตามกำหนดให้ได้
4. สวัสดิการ
เรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของฟรีแลนซ์นั้น ไม่เหมือนกับพนักงานประจำ เช่น สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันสังคม และเงินสะสม (กองทุน) ฯลฯ ถ้าเป็นพนักงานประจำบริษัทก็จะเป็นคนที่ดูแลเรื่องเหล่านี้ให้กับเรา แต่ถ้าเราทำงานเป็นฟรีแลนซ์เราจะต้องดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ เอง รวมไปถึงเรื่องการเสียภาษีด้วยก็จะต้องจัดการเองทั้งหมดเหมือนกัน
5. การเงิน
ในเรื่องของการเงินคุณต้องจัดการเองทั้งหมด ไม่ว่าเป็นเรื่องของประกันสังคมในมาตรา 40 หรือ หากคุณเคยทำงานประจำอาจส่งต่อเอง มาตรา 39 ทั้งเรื่องของภาษีที่ต้องคำนวนในแต่และเดือนหรือ แบบเหมาเป็นรายจ่ายทั้งปี กทงทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆ และที่สำคัญเรื่องการกู้ยืมสินเชื่อเป็นส่วนสำคัญที่ธนาคใช้ในการตัดสินใจ หากคุณประกอบอาชีพในลักษณะของฟรีแลน์
6. งานที่ไม่แน่นอน
สำหรับการทำงานเป็นฟรีแลนซ์ อีกหนึ่งสิ่งที่เราจะต้องเจอกันอย่างแน่นอนก็คือ ปริมาณงานที่ไม่แน่นอน บางเดือนอาจจะได้เยอะ แต่บางเดือนก็ได้น้อย หรือไม่มีเลย จึงส่งผลต่อรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือนที่มีความไม่แน่นอนตามไปด้วย ทั้งนี้เราควรที่จะต้องมีการบริหารจัดการเรื่องงานและเงินในแต่ละเดือนเป็นอย่างดี ไม่งั้นได้กินแกลบกันแน่
คุณรับงานในลักษณะที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือสูงหรือไม่
ในคำถามนี้ถ้าหากคุณตอบออกมาว่าใช่ แน่นอนสิ่งที่ควรทำคือจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เพราะคุณมีความจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่ลูกค้าของคุณ
ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด เพื่อเป็นการรับประกันกับลูกค้าว่าสามารถวางใจได้ เป็นนิติบุคคลที่มีความมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่ได้มารับงานเล่น ๆ แน่นอน นอกจากการรับงานแล้ว การจ้างพนักงานมาทำงานด้วย การจัดซื้อจัดจ้าง การซื้อขายที่ต้องใช้เครดิต การขอกู้ยืมกับแหล่งเงินทุนต่างๆ ก็มีความน่าชื่อถือในนิติบุคคลมากกว่าบุคคลธรรมดาเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสีย จดทะเบียนบริษัท
ข้อดี และ ข้อเสีย ของรับงานด้วย นิติบุคคล หรือรับงานแบบบุคคลธรรมดา
จำนวนหุ้นส่วน
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้หุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปสำหรับการจดห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้องใช้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปสำหรับการจดทะเบียนบริษัท
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา จะสามารถดำเนินการทุกอย่างได้โดยบุคคลเดียว
การระดมเงินทุน
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะสามารถระดมทุนจากหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นได้ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในกิจการที่สูง
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา เงินทุนจะมีเพียงแค่เท่าที่ตัวเองมีและนำมาลงทุนเท่านั้น
การระดมความคิด
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะสามารถระดมความคิด ระดมสมองได้จากหลากหลายคนที่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงจากพนักงานในองกรณ์ ข้อดีคือจะได้เห็นหลากหลายความคิดและมุมมอง และมีความปลอดภัย แต่ข้อเสียคืออาจจะเป็นต้นกำเนิดของความขัดแย้งทางความคิดได้ การตัดสินใจต่าง ๆ ก็ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าเพราะต้องผ่านความเห็นของหลายคน
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องคิดเองทำเองทั้งหมด แต่ข้อดีคือสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้รวดเร็ว สามารถปรับเปลี่ยนแผนการต่าง ๆ ตามสถานการณ์ได้ทันท่วงที แต่ถ้าผิดพลาดก็จะพลาดเลย
การตัดสินใจ
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล การตัดสินใจในการทำเรื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านคณะบริหาร หรือมีการตัดสินใจเป็นลำดับชั้น หากเป็นการตัดสินใจที่สำคัญ
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา การตัดสินใจจะทำด้วยตัวเองทั้งหมดไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่
การแบ่งจ่ายผลกำไร
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะเป็นการแบ่งกันตามสัดส่วนที่กำหนดขึ้น ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายตามหุ้นส่วน หรือแบ่งจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเงินเดือนของพนักงานด้วย
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา รับผลกำไร รายได้แต่เพียงผู้เดียว
การเสียภาษี
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล เสียภาษีจากยอดกำไรของกิจการ หากมีกำไรก็ต้องเสียภาษี แต่หากขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี การคำนวณกำไร ขาดทุนจะคำนวณจาก รายได้หักรายจ่ายเหลือคือกำไรที่นำมาเสียภาษี
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย โดยนำรายได้ของปีนั้น ๆ มาหักการเป็นการเป็นบุคคลธรรมดา ค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย มากน้อยขึ้นกับลักษณะของธุรกิจ หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเท่าไหร่จึงนำมาคิดภาษี ต่อให้ขาดทุนก็ต้องเสียภาษี
อัตราภาษี
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า กำไร 1 ล้านบาทแรกสียภาษี 15% กำไรล้านที่ 2 – 3 เสียภาษี 25% กำไรตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี 30%
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา จะเสียแบบอัตราก้าวหน้า โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรกให้ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 – 5 แสนเสียภาษี 10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5 แสน – 1 ล้าน เสียภาษี 20% เงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย 1 ล้าน – 4 ล้าน เสียภาษี 30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 4 ล้านขึ้นไปเสียภาษี 37%
การทำบัญชี
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการจัดทำบัญชี และการสอบบัญชีโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โดยส่วนนี้จะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีการทำบัญชีหากเป็นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย แต่หากต้องการหักตามจริงจะต้องมีการจัดทำบัญชี
ความรับผิดชอบ
- นิติบุคคล การเป็นนิติบุคคล จะรับผิดชอบแค่เท่ากับหุ้นที่ตัวเองถืออยู่เท่านั้นถ้าเป็นบริษัท แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบแคเท่าที่ตนลงเงินไป
- บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องรับผิดชอบในทุกอย่าง ไม่จำกัดวงเงิน
ทั้งหมดนี้ก็คือข้อดีและข้อเสียของการเป็นนิติบุคคลหรือเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีเหตุผลในการใช้งานที่แตกต่างกัน จะเลือกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและลูกค้าด้วย
นักบัญชีฟรีแลนซ์
ในยุคของเทคโนโลยีข่าวสารที่รวดเร็วในปัจจุบัน ความรู็ ความสามารถสำหรับคนที่มีมากพอ และต้องการความเป็นอิสระ บวกด้วยชอบความเป็นอิสระเสรีในการทำงาน ไม่ต้องทะเลาะกับหัวหน้างาน การรับงานขึ้นอยู่กับ ความพึงพอใจระหว่างผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้าง นักบัญชีฟรีแลนซ์จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังเป็นที่นิยม
แต่ !! ต้องบอกก่อนว่า อาชีพบัญชี ใช่ว่าจะใช้คำว่า ฟรีแลนซ์ ได้เต็มตัว เนื่องจาก จะประกอบอาชีพนี้ได้ ก็ต้องมีสภาวิชาชีพบัญชีรับรอง การทำบัญชี ต้องมีการอบรมเก็บชั่วโมง มีการทำงานกับหน่วยงานราชการเป็นประจำ และบางครั้งหากงานล้นมือเกินไปก็ต้องมีลูกน้องที่ต้องดูแลอีกด้วย
ซึ่งเป็นอาชีพที่ให้คำปรึกษาเรื่องตัวเลขแบบส่วนตัวกับนักธุรกิจที่กำลังเพิ่งเริ่มต้น เป็นอาชีพที่ช่วยคำนวณดูแลรายรับรายจ่าย และการจัดสรรเงินทุน ช่วยคำนวณสิ่งที่ไม่คุ้มทุนให้กับลูกค้า หากใครมีความต้องการเป็นนักบัญชีฟรีแลนซ์จำเป็นต้องมี 5 คุณสมบัติพื้นฐาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาดูคุณสมบัติที่ว่ากันค่ะง
คุณสมบัตินักบัญชี ฟรีแลนซ์
1.มีใจรักและสนุกกับการคำนวณ นักบัญชีควรมีใจรักและรู้สึกสนุกกับการคำนวณ ไม่เบื่อที่จะคำนวณเกี่ยวกับการใช้ตัวเลข สามารถใช้หลักคิดทางการคำนวณได้ทั้งการคิดเลขในใจ และการใช้สูตรโปรแกรม หากมีใจรักในการทำงาน ไม่ว่าจะมีตัวเลขมากมายเพียงใดก็สามารถที่จะยืนหยัดในอาชีพนี้ได้อย่างแน่นอน
2.อย่ากลบปัญหา หากมีข้อผิดพลาดในการทำงาน ควรมีความกล้าที่จะบอกลูกค้าทันที เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ควรกลบปัญหาที่มี เพราะอาจจะทำให้เกิดสิ่งเลวร้ายตามมาได้
3.เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ นักบัญชีฟรีแลนซ์เป็นอาชีพอิสระที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้ว่าจ้างในแต่ละครั้ง การมีมนุษย์สัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นทักษะในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน นักบัญชีฟรีแลนซ์ควรเป็นผู้ที่เก็บความลับได้ดี ด้วยเป็นผู้กุมความลับด้านฐานะทางด้านการเงินของผู้รับจ้าง
4.มีจรรยาบรรณของนักบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพในแต่ละอาชีพจะมีไว้อยู่แล้ว การเป็นนักบัญชีฟรีแลนซ์ก็เช่นกัน ด้วยเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข กับเงินเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นควรรักษาจรรยาบรรณอาชีพไว้ให้ดีอย่างต่อเนื่อง ให้การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าให้ดีที่สุด ไม่นำเรื่องราคามาแข่งระหว่างกันจนลืมองค์ประกอบเรื่องความมีจรรยาบรรณ
5.ควรหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา นักบัญชีควรหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ควรเป็นผู้ที่รู้จักไขว่คว้าหาความรู้ศึกษาประมวลรัษฎากรอย่างสม่ำเสมอ จะได้เข้าใจถึงข้อกฎหมายอย่างละเอียด ให้ความสำคัญด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้โปรแกรมคำนวณ ที่จะช่วยให้การทำงานด้านบัญชีมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อาชีพนักบัญชีฟรีแลนซ์เป็นอาชีพหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการ
ทุกกิจการล้วนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาช่วยในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกิจการให้เจริญยิ่งขึ้นไป ดังนั้นหากใครรักในอาชีพนี้จึงต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ รักษาจรรยาบรรณอาชีพให้สม่ำเสมอ จะทำให้มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องค่ะ
ฟรีแลนซ์เสียภาษี
–บุคคลธรรมดา การเป็นบุคคลธรรมดา จะเสียแบบอัตราก้าวหน้า โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรกให้ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 – 5 แสนเสียภาษี 10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5 แสน – 1 ล้าน เสียภาษี 20% เงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย 1 ล้าน – 4 ล้าน เสียภาษี 30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 4 ล้านขึ้นไปเสียภาษี 37%
สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
ฟรีแลนซ์ ภาษาอังกฤษ
ฟรีแลนซ์ ทําอะไรบ้าง
ฟรีแลนซ์ หางาน
ฟรีแลนซ์ มีอะไรบ้าง
ข้อมูล : รับทําบัญชีอิสระ
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี