การบันทึกบัญชีฟาร์ม
บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี ธุรกิจ ฟาร์ม ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า)
- ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
- Email : 9622104@gmail.com
- Line Official Account : @e200
- ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน
การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มอย่างเป็นระบบระเบียบในรูปแบบที่เรียกว่าเป็น \”การบันทึกบัญชีฟาร์ม\” นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับเกษตรกรหลังจากที่ธุกิจฟาร์มได้เริ่มดำเนินกิจการก็ควรต้องมีการลงบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายทางการเงินตลอดเวลาที่มีตัวเลขเคลื่อนไหว แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักละเลยกับการบันทึกข้อมูลต่างๆเหล่านี้ลงในบัญชีของกิจการฟาร์มของตน ทำให้ขาดข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางแผนและการจัดทำงบประมาณขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบการวางแผนการผลิต รวมถึงข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจเลือกกิจการที่ตนควรจะผลิต เป็นดัน
การบันทึกบัญชีฟาร์มเสมือนเป็นการรวบรวมข้อมูลทางตัวเลขทั้งหมดของฟาร์มและสามารถนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มต่อไปได้ ว่ามีจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้การทำธุรกิจฟารมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความหมายและประโยชน์ของการบันทึกบัญชีฟาร์ม
คำว่า “การบัญชี” ที่สมาคมผู้สอบบัญชีอนุญาตของสหรัฐอเมริกา (AICPA) ได้ให้คำจำกัดความไว้คือ \”การบัญชี เป็นศิลปะของการจดบันทึก การจัดหมวดหมู่ และสรุปผลของรายการ และเหตุการณ์เกี่ยวกับการเงิน รวมทั้งการวิเคราะห์และแปรความหมายจาก ผลนั้นด้วย”ซึ่งเราอาจสรุปประโยชน์ของการบันทึกกิจการฟาร์มได้ดังนี้
- เกษตรกรจะทราบฐานะทางการเงินของตนเองว่าเป็นอย่างไร และเงินลงทุนที่ตนมีอยู่โดยพิจารณาจากเงินสด และบันทึกบัญชีทรัพย์สินคงเหลือ
- เกษตรกรจะทราบถึงรายรับรายจ่าย ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มของ ตน ทำให้ทราบผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายรับรายจ่าย อีกทั้งชวยพิจารณาตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้
- เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มในแต่ละรอบปีการผลิต ว่าดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
- ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปงานฟาร์ม ตัดสินใจการผลิต ตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดของฟาร์ม ตลอดจนตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตต่าง ๆ ในฟาร์ม
- สามารถสรุปรายงานต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ เพื่อแสดงสถานะทางการเงิน (Financial Statement) ต่อสถาบันการเงินต่าง ๆ เมื่อต้องการสินเชื่อ
- เป็นการแยกข้อมูลที่เกิดจากการทำฟาร์มออกจากข้อมูลในควัวเรือนของผู้ดำเนินงานฟาร์ม เพื่อสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มได้อย่างแท้จริง
- ทำให้จัดสรรผลตอบแทนที่ได้จากการทำฟาร์มให้แก่ผู้ร่วมดำเนินการได้อย่าง ยุดิธรรม ในกรณีที่อาจมีผู้ร่วมรับผลประโยชน์จากการทำธุรกิจฟาร์มด้วยกัน
- ทำให้การเสียภาษีต่อรัฐบาล เป็นไปโดยรวดเร็ว ถูกต้อง เนื่องจากมีหลักฐานทางตัวเลขเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้
การบันทึกบัญชีฟาร์มหรือจะเรียกว่าการบันทึกกิจการฟาร์มก็ได้ในที่นี้นั้นจะเป็นการแสดงวิธีการบันทึกบัญชีอย่างง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ และไม่ใช้วิธีการทางบัญชีที่มีความชับช้อน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำฟาร์มโดยทั่วไปของเกษตรกรในประเทศไทยกล่าวคือเกษตรกรจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในฟาร์มต้องใช้แรงกายมากทำให้เหนื่อยล้า ไม่สามารถทุ่มเทให้กับการบันทึกบัญชีใด้มากนัก ประกอบกับความรู้ทางด้านการบัญชีมีน้อย ถ้าเพียงสามารถบันทึกได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ถือว่าเป็นการบันทึกบัญชีฟาร์มที่มีประสิทธิภาพแล้ว
ประเภทของบันทึกบัญชีฟาร์ม
ประเภทของการบันทึกบัญชีฟาร์มตามในทัศนะของนักวิชาการหลายท่านอาจจะแบ่งประเภทของการบันทึกบัญชีไว้แตกต่างกันเช่น 3 ประเภทบ้าง 4 ประเกทบ้าง หรือ 5 ประเภทบ้าง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ใช้บันทึกและวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเดียวกันและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน สำหรับในตำราเล่มนี้ จะแบ่งประเภทของบันทึกบัญชีฟาร์มไว้เป็น 5ประเภทตามลักษณะการบันทึกกิจการฟาร์ม ดังนี้
- บันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์ม
- บันทึกปัญชีรายได้ฟาร์ม
- บันทึกปัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม
- บันทึกบัญชีรายการลูกหนี้ฟารม
- ปันทึกบัญชีทรัพย์สินฟาร์ม
การบันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์ม
เป็นการบันทึกรายจ่ายทุกชนิดที่เกิดขึ้นกับฟาร์ม โดยแยกประเภทของรายจ่ายไว้ดังตารางที่ 43 โดยปกติรายจ่ายทุกประเภทจะบันทึกไว้ในตารางเดียวกัน แต่อาจจะแยกรายละเอียดต่อไปอีก เช่น เป็นรายจ่ายจากพืชชนิดไหน จากสัตว์ชนิดไหน ซึ่งค่อนช้างชับช้อนขึ้น เพราะรายจ่ายบางชนิดใช้ร่วมกันไประหว่างพืชหลายชนิด หรือระหว่างพืชกับสัตว์ ซึ่งอาจพยายามแยกได้เหมือนกันโดยใช้อัตราส่วนของการใช้งาน มาแยกรายจ่ายรวมนั้นออกเป็นส่วน ๆการจะบันทึกรายจ่ายของฟาร์มให้ละเอียดเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มของแต่ละฟาร์ม
ถ้าฟาร์มต้องการวิเคราะห์รายจ่ายในแต่ละกิจการ ก็ต้องแยกประเภทของรายจ่ายเป็นแต่ละกิจการ เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับหมู รายจ่ายเกี่ยวกับเป็ดรายจ่ายของข้าวโพด เป็นตัน หรือถ้าฟาร์มต้องการวิเคราะห์รายจ่ายรวมของฟาร์มเลย ก็ไม่ต้องแยกประนาทของรายจ่ายให้ละเอียดนักรายจ่ายของ
ฟาร์มอาจประกอบด้วยรายการดังนี้
- ค่าซื้อปศุสัตว์
- ค่าอาหารสัตว์
- ค่าพันธุ์พืช
- ค่าปุย
- ค่ายาปราบศัตรูพืช
- ค่าดอกเบี้ยและเงินต้น
- ค่าจ้างแรงงาน
- ค่าสวัสดิการคนงาน
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ค่าซื้อเครื่องจักรเครื่องมือ
- ค่าสร้างและซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์
- ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการขาย
- ค่าซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือ
- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
เมื่อเกษตรกรแบ่งหมวดหมู่หรือแบ่งกลุ่มของรายจ่ายทั้งหมดในฟาร์มของตนเองได้แล้วก็นำมาบันทึกลงในบันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์มซึ่งได้แบ่งหมวดหมู่ตามรายจ่ายโดยแบ่งเป็นช่องๆตามแนวนอนไปเรื่อย ๆ จนครบ เมื่อมีรายการรายจ่ายเกิดขึ้นเมื่อใดก็ให้ลงไว้ในหมวดใดหมวดหนึ่ง ดังแสดงในตาราง
ตารางที่ 43 แสดงการบันทึกบัญชีรายจ่ายของฟาร์ม
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ค่าซื้อ
ปศุสัตว์ |
ค่าอาหาร
สัตว์ |
ค่าพันธุ์
พืช |
ค่าปุ๋ย | … | ค่าใช้จ่าย
เบ็ดเตล็ด |
1 | 3 พ.ค. 53 | 2,000 | |||||
2 | 6 พ.ค. 53 | 1,000 | |||||
3 | |||||||
4 | |||||||
… | |||||||
รวม | – | 2,000 | xxx | 1,000 | xxx | xxx | xxx |
หรือหากเกษตรกรต้องการที่จะแยกรายการของรายจ่ายแต่ละหมวดหมู่ก็สามารถหากเห็นว่าต้องการเพิ่มรายการอื่นเพิ่มเติม เช่น มีผู้จ่าย(ผู้ไปซื้อสินค้า)หลายคน ก็สามารถทำได้โดยแยกเป็นแผ่นๆ ตามรายการรายจ่ายไปเรื่อย ๆ แต่ให้รวมไว้ในเล่มเดียวกัน
ตารางที่ 44 แสดงบันทึกบัญชีรายจ่ายของฟาร์ม
แผ่นที่ 1
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ค่าซื้อปศุสัตว์ | ชื่อผู้จ่าย | หมายเหตุ |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ||||
… | ||||
รวม | – | xxx | xxx |
แผ่นที่ 2
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ค่าอาหารสัตว์ | ชื่อผู้จ่าย | หมายเหตุ |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ||||
… | ||||
รวม | – | xxx | xxx |
แผ่นที่ 3
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ค่าพันธ์พืช | ชื่อผู้จ่าย | หมายเหตุ |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ||||
… | ||||
รวม | – | xxx | xxx |
การบันทึกบัญชีรายได้ฟาร์ม
การบันทึกรายได้ไม่ซับซ้อนเหมือนการบันทึกรายจ่าย สามารถแยกประเภทของรายได้ออกได้ซัดเจน ดังนี้
- การบันทึกรายได้จากสัตว์
- การบันทึกรายได้จากพืช
- การบันทึกรายได้อย่างอื่นเกี่ยวกับฟาร์ม
ลักษณะการบันทึกรายได้ของฟาร์มพิจารณาได้จากตารางที่ 45, 46 และ 47
ตารางที่ 45 แสดงการบันทึกบัญชีรายได้จากสัตว์
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ชนิดของสัตว์ | จำนวนขาย | ราคาต่อหน่วย | จำนวนเงิน | หมายเหตุ |
1 | ||||||
2 | ||||||
3 | ||||||
4 | ||||||
… | ||||||
รวม | – | – | – | – | xxx |
ตารางที่ 46 แสดงการบันทึกบัญชีรายได้จากพืช
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ชนิดของพืช | จำนวนขาย | ราคาต่อหน่วย | จำนวนเงิน | หมายเหตุ |
1 | ||||||
2 | ||||||
3 | ||||||
4 | ||||||
… | ||||||
รวม | – | – | – | – | xxx |
ตารางที่ 47 แสดงการบันทึกรายได้อย่างอื่นเกี่ยวกับฟาร์ม
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ชนิดของรายได้ | จำนวนเงิน | หมายเหตุ |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ||||
… | ||||
รวม | – | – | xxx |
การบันทึกบัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม
หมายถึง การบันทึกว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้อยู่เท่าไร รายละเอียดของเจ้าหนี้แต่ละรายเป็นอย่างไร เช่น การที่ฟาร์มกู้ยืมเงินผู้อื่นมา แสดงว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้หรือการที่ฟาร์มซื้อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ โดยไม่จ่ายเงินสด ก็แสดงว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้ ซึ่งจะต้องนำมาบันทึกในรายการเจ้าหนี้ฟาร์มทั้งสิ้น
ตารางที่ 48 แสดงการบันทึกบัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ชื่อเจ้าหนี้ | จำนวนหนี้ | อัตราดอกเบี้ย | กำหนดชำระ | หมายเหตุ |
1 | ||||||
2 | ||||||
3 | ||||||
4
5 6 |
||||||
… | ||||||
รวม | – | – | – | – | xxx |
การบันทึกบัญชีรายการลูกหนี้ฟาร์ม
เป็นการบันทึกว่าฟาร์มมีลูกหนี้อยู่เท่าไร รายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายเป็นอย่างไรเช่น การที่ฟาร์มให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน หรือการที่ฟาร์มขายผลผลิตและทรัพย์สินของฟาร์มออกไปโดยยังไม่ได้รับชำระเงิน ซึ่งแสดงว่าฟาร์มมีลูกหนี้เกิดขึ้น จึงต้องบันทึกลงในรายการลูกหนี้ฟาร์ม
ตารางที่ 49 แสดงการบันทึกรายการลูกหนี้ฟาร์ม
รายการที่ | วัน เดือน ปี | ชื่อลูกหนี้ | จำนวนหนี้ | อัตราดอกเบี้ย | กำหนดชำระ | หมายเหตุ |
1 | ||||||
2 | ||||||
3 | ||||||
4
5 6 |
||||||
… | ||||||
รวม | – | – | – | – | xxx |
การบันทึกบัญชีทรัพย์สิน(คงเหลือ)ฟาร์ม
เป็นการบันทึกรายการทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดที่คงเหลืออยู่ในฟาร์ม การบันทึกทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มจะทำให้ทราบว่า ในรอบปีการผลิตของฟาร์มทรัพย์สินต่าง ๆ ในฟาร์มได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ผลการทำฟาร์มซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป สิ่งสำคัญในการบันทึก ทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มอยู่ที่การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิดให้มีความเหมาะสม เพื่อจะได้แสดงสถานะของฟาร์มอย่างแท้จริง ในการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิด มีวิธีการต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป และหลังจากที่ได้สำรวจทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งหมดในฟาร์ม และทราบวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินแต่ละชนิดแล้ว ควรสรุปแสดงรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ ดังตารางที่ 50 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป
ตารางที่ 50 แสดงการบันทึกบัญชีทรัพย์สินคงเหลือฟาร์ม
รายการ | มูลค่าเมื่อต้นปีการผลิต (บาท) | มูลค่าเมื่อปลายปีการผลิต (บาท) |
1. หมวดมี่ดิน | ||
1.1 ที่ปลูกไม้ผล | ||
1.2 ที่นา | ||
1.3 ที่ปลูกพืชไร่ | ||
… | ||
2. หมวดเครื่องจักรเครื่องมือ | ||
2.1 แทรกเตอร์ | ||
2.2 รถบรรทุก | ||
2.3 เครื่องสีข้าวโพด
… 3. หมวดสิ่งปลูกสร้าง 3.1 โรงรีดนมวัว 3.2 ยุ้งฉาง 3.3 รั้วฟาร์ม … |
||
รวม |
การเปรียบเทียบมูลค่าของทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มเมื่อต้นปีกับปลายปี จะทำให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มระหว่างปีมีการผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งจะใช้ประกอบการวิเคราะห์ รายการแสดงรายได้ฟาร์ม
(Farm Income Statement) ต่อไป
วิธีการประเมินมูลค่าของทรัพย์สิน(ที่คงเหลือ)
1.ประเมินโดยใช้ราคาขายสุทธิ
ประเมินโดยใช้ราคาขายสุทธิ (Net Selling Price) หมายถึง ราคาตลาดของทรัพย์สินนั้น หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการขายอกแล้ว ทรัพย์สินที่จะประเมินราคาด้วยราคาขายสุทธิ นี้ ควรเป็นทรัพย์สินที่ฟาร์มผลิตขึ้นมาเพื่อขาย เช่น พืชหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฟาร์มแต่ยังไม่ได้ขาย เช่น ฟาร์มมีลูกไก่อยู่ 100 ตัว ราคาตลาดตัวละ 5 บาท ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง ค่าบรรจุหีบห่อ ฯลฯ ตกตัวละ 1 บาท ดังนั้นมูลค่าของลูกไก่จึงเท่ากับ 400 บาท
2.ประเมินโดยใช้ราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อม
ประเมินโดยใช้ราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อม (Cost Minus Depreciation) คือ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยหักค่าเสื่อมที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินนั้นมาตลอดปี ออกจากราคาทุนเมื่อต้นปีการผลิต วิธีนี้เหมาะสมสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ดำเนินงาน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือโรงเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในฟาร์ม ที่มีอายุการใช้งานน้อย ตลอดจนสัตว์ที่ใช้ทำพันธุ์
3.ประเมินโดยใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด
ประเมินโดยใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด (Cost or Market Price) แล้วแต่ว่าราคาไหนจะต่ำกว่ากัน ราคาทุน หมายถึง ราคาที่ซื้อทรัพย์สินนั้นมา วิธีนี้เหมาะสมสำหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อมา ซึ่งเหลือหรือเก็บไว้ใช้ในฤดูการผลิตต่อไป เช่น ปุ้ย ยาปราบศตรูพืช อาหารสัตว์ เป็นต้น การที่ต้องเลือกราคาใดราคาหนึ่งต่ำกว่ากันนั้น เพื่อประเมินราคาทรัพย์สินประเภทนี้สูงเกินไป ถ้าราคาตลาดในขณะประเมินของทรัพย์สินเหล่านี้ตกต่ำลง
4.ประเมินโดยใช้ราคาทดแทนกันด้วยค่าเสื่อม
ประเมินโดยใช้ราคาทดแทนกันด้วยค่าเสื่อม (Replacement Cost Minus Depreciation) ราคาทดแทน หมายถึง ราคาที่จะต้องซื้อหรือสร้างสิ่งของนั้นขึ้นมาใหม่ วิธีนี้เหมาะสมสำหรับสิ่งปลูกสร้างต่าง 1 ในฟาร์มที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น ในระยะเวลา 20 ปีราคาวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในสิ่งปลูกสร้างอาจมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก การจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินประเภทนี้ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น จึงต้องเปรียบเทียบว่าในภาวะปัจจัยสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ฟาร์มมีอยู่ควรจะมีมูลค่าเท่าไร แล้วจึงหักค่าเสื่อมในรอบปีการผลิต แต่ถ้าระดับราคาวัสดุต่าง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ก็อาจประเมินมูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ด้วยวิธีที่ 2 ก็ได้
5.ประเมินโดยใช้ราคาตลาด
ประเมินโดยใช้ราคาตลาด (Market Price) มักใช้กับการประเมินราคาที่ดินของฟาร์ม และเพื่อป้องกันการประเมินราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านราคาอย่างผิดปกติในบางปี จึงอาจใช้ราคาเฉลี่ยในระยะยาวหลาย ๆ ปี เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นหลักในการประเมินราคาที่ดิน
การหาค่าเสื่อมของทรัพย์สิน
ค่าเสื่อม (Depreciation) ในภาษาทางวิชาการหรือในภาษาที่ชาวบ้านหรือเกษตรกรอาจเรียกว่า “ค่าสึกหรอ”นั้น หมายความถึง มูลค่าของทรัพย์สินที่สูญเสียไปอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพย์สินแต่ละชนิดนั้น เมื่อทรัพย์สินถูกใช้เป็นเวลานานขึ้น ค่าเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย และมูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้จะน้อยลงเรื่อย จนไม่มีมูลค่าเลย หรือจนกระทั่งทรัพย์สินนั้นใช้งานต่อไปไม่ได้เหลือแต่มูลค่าซาก (Salvage Value)
การสูญเสียมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ อายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น กับ ลักษณะของการใช้ทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่คงทนถาวร เช่น สิ่งปลูกสร้าง โรงเรือนต่าง ๆ มักจะสูญเสียมูลค่าไปตามอายุการใช้งาน แต่ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรต่าง ๆ เช่น รถบรรทุก การสูญเสียมูลค่าของทรัพย์สินมักจะเป็นไปตามลักษณะการใช้งาน รถบรรทุกชนิดและขนาดเดียวกัน 2 คัน ในระยะเวลาเท่ากัน คันหนึ่งใช้งานมาแล้ว 20,000 กิโลเมตร อีกคันหนึ่งใช้งาน 2,000 กิโลเมตรมูลค่าของรถบรรทุกที่เหลือหลังจากการใช้งานในระยะเวลาเดียวกันนั้น ย่อมไม่เท่ากัน ซึ่งมูลค่าของรถบรรทุกที่สูญเสียไปนั้น ก็คือ ค่าเสื่อม นั่นเอง ค่าเสื่อม ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินแต่ละชนิดในฟาร์มนั้น ถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการผลิตอย่างหนึ่งของฟาร์มด้วย การแสดงต้นทุนการผลิตของพืชหรือสัตว์ชนิดต่าง 1 ในฟาร์มตลอดจนการแสดงสถานะทางการเงินของฟาร์ม จึงต้องมีรายการของค่าเสื่อมรวมอยู่ด้วย
วิธีการคำนวณค่าเสื่อม ที่นิยมใช้กันมี 3 วิธีดังต่อไปนี้
1.การคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี
การคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี วิธีนี้เรียกกันว่า \”The Straight-Line Method\” คำนวณค่าเสื่อม โดยเอาราคาทุน (Original Cos!) ของทรัพย์สินนั้นหักด้วยค่าซาก (Salvage Value) แล้วหารด้วยอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น
2.การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง
การคำนวนค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง วิธีนี้เรียกกันว่า \”The Declining – balance Method\” หรือ บางตำราเรียกว่า \”Double-declining Balance Method\” วิธีนี้จะได้ค่าเสื่อมในปีแรกประมาณไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนร้อยละของการหักค่าเสื่อม ที่คำนวณโดยวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี วิธีคำนวณมีวิธีคิดได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 วิธีนี้ไม่ต้องหักค่าซากออกจากราคาทุนก่อน เพราะค่าซากจะถูกกำหนดขึ้นเองในภายหลังเมื่อหักค่าเสื่อมแต่ละปีจนครบอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นแล้ว สำหรับจำนวนร้อยละที่ใช้หักค่าเสื่อมของทรัพย์สินวิธีนี้ โดยปกติจะใกล้เคียงและไม่เกิน 2 เท่าของวิธีแรก จึงใช้ตัวเลขร้อยละ 2 เท่าของวิธีแรก เป็นร้อยละที่แน่นอนทุกปีคูณเข้ากับมูลค่าที่เหลืออยู่
แบบที่ 2 วิธีนี้เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะได้ตัวเลขที่เท่ากันกับวิธีคิดในแบบที่ 1 ใช้หลักการเดียวกันว่าคำเสื่อมในปีแรกๆนั้น ควรจะหักค่าเสื่อมไว้มากหน่อย แล้วค่อยลดลงในปีหลังๆ เป็นวิธีการที่กำหนดอัตราค่าเสื่อมคิดเป็นตัวเลขที่เท่ากันทุกๆปีคูณด้วยมูลค่าคงเหลือของทรัพย์สินเช่นกัน แต่ที่มาของตัวเลขต่างกัน ดังนี้
1.การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนอายุการใช้งานคงเหลือ
การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมตามอัตราสวนอายุการใช้งานคงเหลือ วิธีนี้เรียกว่า \”The Sum Of The Years Digits Method\” มีวิธีการคำนวณค่าเสื่อม ดังนี้
- หักมูลค่าต้นของทรัพย์สินด้วยมูลค่าซาก
- คูณผลที่ได้จากข้อ 3.1 นั้นด้วยอายุการใช้งานคงเหลือแล้วหารด้วยผลรวม ของอายุการใช้งานคงเหลือทั้งหมด
หลักการพิจารณาข้อแตกต่างวิธีการหาค่าเสื่อม
การพิจารณาตารางที่ 55 พอจะสรุปข้อแตกต่างในการคำนวณค่าเสื่อม ทั้ง 3 วิธีได้ดังนี้
2.วิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี ค่าเสื่อมจะถูกหักเท่ากันทุกปี ส่วนวิธีการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง (Declining Balance) ค่าเสื่อมจะลดลงเรื่อย ๆ ในจำนวนที่น้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน คือ
- ค่าเสื่อม ในปีที่ 2 จะลดลงจากปีที่ 1 = 880 – 528 = 352 บาท
- ค่าเสื่อม ในปีที่ 3 จะลดลงจากปีที่ 2 = 528 – 317 = 211 บาท
- ค่าเสื่อม ในปีที่ 4 จะลดลงจากปีที่ 3 = 317 – 190 = 127 บาท
- ค่าเสื่อม ในปีที่ 5 จะลดลงจากปีที่ 4 = 190 – 114 = 76 บาท
จะเห็นว่า ค่าเสื่อม จะลดลงในจำนวนที่น้อยลงเรื่อย ๆ คือ จาก 352 เป็น 211 เป็น127 จนกระทั่งปีสุดท้ายคำเสื่อม ในปีที่ 5 เป็น 76 บาท สำหรับ วิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือ ( Sum of The Years Digits) ค่าเสื่อมจะลดลงเรื่อย ในจำนวนที่เท่ากันทุกปี คือ
- ค่าเสื่อมในปีที่ 2 จะลดลงจากปีที่ 1 = 666.66 – 533.33 = 133.33 บาท
- ค่าเสื่อมในปีที่ 3 จะลดลงจากปีที่ 2 = 533.33 – 400.00 = 133.33 บาท
- ค่าเสื่อมในปีที่ 4 จะลดลงจากปีที่ 3 = 400.00 – 266.67 = 133.33 บาท
- ค่าเสื่อมในปีที่ 5 จะลดลงจากปีที่ 4 = 266.67 – 133.33 = 133.33 บาท
3.วิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี และวิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือหลังจากหักค่าเสื่อมครบทุกปีแล้ว มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือจะเท่ากับค่าซากที่ได้ประเมินไว้ตั้งแต่แรก แต่แบบการลดค่าเสื่อมร้ายปีในปีหลังจะได้มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือหรือค่าซากจากการถูกกำหนดขึ้นเองในภายหลัง โดยเขาคำาเสื่อมรวมทั้งหมดหักออกจากราคาทุน จึงเท่ากับ 2,200 -2,029 = 171 บาท
ค่าเสื่อม ของทรัพย์สินแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ทรัพย์สินประเภทคงทนถาวร เช่น ริ้วหรือโรงเรือนต่าง 1 ในฟาร์ม ค่าเสื่อม มักจะไม่แตกต่างกันมากในแต่ละปี การคำนวณค่าเสื่อโดยวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี จึงเหมาะสมสำหรับทรัพย์สินประเภทนี้ แต่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น เครื่องจักร รถยนต์ มูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้จะลดลงมากในระยะแรกหลังจากซื้อมาใช้ การคำนวณค่าเสื่อม ของทรัพย์สินประเภทนี้จึงมักใช้วิธีการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง (Declining Balance) หรือ วิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือ (Sum of the Years Digits) การคำนวณค่าเสื่อมตามที่กล่าวมาทั้ง 3 วิธีนี้ ค่าเสื่อมจะกระจายไปตามระยะเวลาของอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นการใช้หน่วยของเวลา (Time Unit) มาพิจารณาค่าเสื่อม
แต่ทรัพย์สินบางชนิดค่าเสื่อมะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของทรัพย์สินนั้น ถ้าปีใดใช้งานมากค่าเสื่อมก็มาก ปีใดใช้งานน้อยค่าเสื่อมก็น้อย จึงมีข้อพิจารณาว่า ควรมีการคำนวณค่าเสื่อมตามหน่วยของการใช้ (Service Unit) เช่น เครื่องมือหยอดเมล็ดข้าวโพดสมมติว่ามีอายุการใช้งานได้ 4,000 ไร่ ควรคำนวณค่าเสื่อมออกมาว่าค่าเสื่อมควรจะเป็นไร่ละเท่าไร ถ้าปีนี้ใช้หยอดเมล็ดข้าวโพด 100 ไร่ ค่าเสื่อมในปีนี้เท่ากับ 100 x ค่าเสื่อมต่อไร่ ถ้าปีต่อมาใช้งาน 300 ไร่ ค่าเสื่อมปีต่อมาเท่ากับ 300 x ค่าเสื่อมต่อไร่ เป็นต้น
โดยปกติค่าเสื่อมของทรัพย์สินเกือบทุกชนิด จะขึ้นอยู่กับทั้งหน่วยของเวลาและหน่วยของการใช้ ถ้าสามารถคำนวณค่าสึกหรอโดยใช้ทั้งหน่วยของเวลาและหน่วยของการใช้มาประกอบกันแล้ว จะได้ค่าเสื่อมที่สมบูรณ์ที่สุด การคำนวณค่าเสื่อมของทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น อาจใช้หลาย ๆ วิธีรวมกันก็ได้ เช่น ใช้แบบการคำนวณโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลังมาระยะหนึ่งแล้วในระยะต่อไปอาจเปลี่ยนมาใช้แบบวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใช้อัตราที่จะนำมาคำนวณค่าเสื่อมอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการที่เราคาดว่าอายุการใช้งนของทรัพย์สินนั้นจะเป็น 10 ปี แต่เมื่อใช้ไปอาจจะใช้ได้เพียง 7 ปี หรือ 15 ปี นั่นคือ เมื่อคำนวณค่าเสื่อม ของทรัพย์สินชนิดหนึ่งไประยะหนึ่งแล้วเห็นว่าอายุการใช้งานไม่เป็นไปตามที่คาด อาจหักค่าเสื่อมในอัตราที่มากขึ้นอีกเมื่ออายุของทรัพย์สินจะน้อยกว่าที่คาดหรือหักในอัตราที่น้อยลงกว่าเดิม เมื่ออายุของทรัพย์สินนานกว่าที่คาด เป็นต้น
การบันทึกข้อมูลการผลิตพืชและสัตว์
จากการบันทึกบัญชีทั้ง 5 ประเภทตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีการบันทึกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะไม่เรียกว่าเป็นการบันทึกบัญชี เนื่องจากไม่ได้เป็นตัวเลขที่มีความหมายทางด้านการเงินแต่อย่างใดตามความหมายของคำว่า \”การบัญชี\” บันทึกประเภทนี้เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้ข้อมูลทางสถิติ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรในด้านการวางแผน และปรับปรุงแผนการผลิตในปีต่อๆไป บันทึกนี้เรียกว่า\”บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตพืชและผลิตสัตว์* ข้อมูลที่จะบันทึกเป็นข้อมูลทางกายภาพเกี่ยวกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- การบันทึกการผลิตพืชจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เนื้อที่เพาะปลูกพืชแต่ละชนิด จำนวนปัจจัยการผลิตที่ใช้ ช่วงเวลาเตรียมดิน ปลูก หว่าน ตกกล้าและเก็บเกี่ยว เนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต เป็นต้น การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดระบบการปลูกพืชภายในฟาร์มและการปรับปรุงบำรุงดินต่างๆ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชในรอบปี
- การบันทึกการผลิตสัตว์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสัตว์แต่ละชนิด ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ ตลอดจนปริมาณอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดและแต่ละรุ่น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาพิจารณารวมกับข้อมูลรายรับรายจ่ายของทางด้านสัตว์แล้ว สามารถนำมาคำนวณผลตอบแทนต่อค่าอาหารสัตว์และค่าอาหารสัตว์ต่อหน่วยน้ำหนักสัตว์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบระดับกำไรของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดได้ นอกจากนี้ข้อมูลจากการบันทึกการผลิตจะทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการผลิตสัตว์แต่ละชนิดได้ เช่น จำนวนลูกสุกรอย่านม ต่อครอก หรือ จำนวนไข่ต่อแม่ไก่ 1 ตัว หรือ จำนวนน้ำนมต่อแม่วัว 1 ตัว เป็นต้น สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์อาจแบ่งได้ดังนี้
2.1 บันทึกการเกิดของสัตว์
2.2 บันทึกการตายของสัตว์
2.3 บันทึกผลผลิตสัตว์
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี