แฟรนไชส์
กิจการแฟรนไชส์ คือ ตามรูปศัพท์ แฟรนไชส์ ( Franchise ) หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไป หรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
Franchise
ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่นิยมมาก มีกิจการหลายกิจการที่กำเนิดจากธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการดำเนินงานในธุรกิจประเภทนี้ จะมีบริษัทแม่คอยแนะนำให้ความช่วยเหลือเป็นผู้เตรียมใบอนุญาตเทคนิคการผลิต การบริหารงาน ขายให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือผู้ซื้อสัมปทาน เพื่อซื้อสทธิในการเป็นเจ้าของ และดำเนินงานในลักษณะเดียวกับที่บริษัทแม่ได้วางรูปแบบไว้
ร้านกาแฟ เป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ ที่นิยมเป็นอันดับต้น
ซึ่งธุรกิจที่เป็นบริษัทแม่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ มีแนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ
- แฟรนไชซอร์ ( Franchisors ) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน
- แฟรนไชซี ( Franchisees ) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น ไทเกอร์มาร์ต สตาร์ชอร์ป ฯลฯ และธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิดโดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่เจมส์ ฯลฯ
ตัวอย่าง แฟรนไชส์
ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ
- ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซีในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
- ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเว่น โดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น
ธุรกิจแฟรนไชส์ subway
คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจ (Businessman) คือ บุคคลผู้จัดตั้งธุรกิจและบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะต้องติดต่อกับบุคคลอื่นตลอดเวลาเพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจตน จึงต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
นักธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการแฟรนไชส์
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง คือ มีความรู้สึกว่าสามารถทำทุกอย่างที่ต้องการหรือที่อยากทำได้ หากยิ่งประสบความสำเร็จก็จะรู้สึกมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ซึ่งการมีความเชื่อมั่นในตนเองนี้ทำให้นักธุรกิจสามารถทำงานทุกอย่างด้วยความมั่นใจ มีความอยากทำและมีความตั้งใจในการทำ อันทำให้เกิดผลงานออกมาดีตามที่ต้องการได้
- มีความซื่อสัตย์ ต่อลูกค้าทั้งด้านคำพูดและการกระทำ สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพให้ลูกค้าได้บริโภคแต่สิ่งที่ดีและมีความปลอดภัยต่อชีวิต
- มีความกตัญญูต่อลูกค้า และผู้มีบุญคุณอื่น ๆ โดยการมอบแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่ลูกค้าและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีอย่างต่อเนื่อง
- มีความยุติธรรมในการบริหารงาน และตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยความยุติธรรมในการให้โอกาสแก่ทุก ๆ ฝ่ายเท่าเทียมกัน
- มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ การมีประสบการณ์จะทำให้มีข้อมูลในการนำมาวางแผนและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี เพราะรู้ว่าสิ่งใดควรปฏิบัติและสิ่งใดควรละเว้นจึงจะทำให้การดำเนินธุรกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
- มีความมั่นใจในตนเอง สามารถตัดสินใจได้ทันเวลาทันกับเหตุการณ์ และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี ย่อมทำให้ไม่เสียโอกาสทองในการดำเนินธุรกิจ
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งด้านการบริหารและการจัดการทำให้ธุรกิจมีวิธีการหรือผลงานใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้นหรือมีประสิทธิผลมากขึ้น
- มีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของตลาด เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการนำมาตัดสินใจในกระบวนการผลิตและการจัดจำหน่าย เพื่อธุรกิจจะได้ปฏิบัติหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและสังคม
- มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อองค์การและสังคม รวมถึงปฏิบัติต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการมีจรรยาบรรณที่ดี
ค่าเฟรนไชน์ และค่าที่ปรึกษา ต้องบันทึกบัญชีอย่างไร
ค่าที่
ปรึกษา บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้เลย แต่อย่าลืมหัก ณ ที่จ่ายด้วย ส่วนค่าเฟรนไชส์ต้องบันทึกตามอัตราส่วน
บัญชีแฟรนไชส์: ความสำคัญของบัญชีในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจ แฟรนไชส์ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การบริหารบัญชีแฟรนไชส์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีค่าใช้จ่ายและภาษีที่ต้องจัดการอย่างเป็นระบบ
ทำไมบัญชีจึงสำคัญสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์?
- ติดตามรายรับ-รายจ่ายได้อย่างแม่นยำ – แฟรนไชส์มีรายจ่ายหลายอย่าง เช่น ค่าสิทธิแฟรนไชส์ ค่าสินค้า ค่าการตลาด และค่าดำเนินการอื่น ๆ หากไม่มีการบันทึกบัญชีที่ดี อาจทำให้กำไรลดลง
- ช่วยคำนวณต้นทุนและกำไรของแต่ละสาขา – การทำบัญชีช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์สามารถวิเคราะห์ผลประกอบการของแต่ละสาขาได้ชัดเจน
- วางแผนภาษีและปฏิบัติตามข้อกำหนดของสรรพากร – ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากไม่มีระบบบัญชีที่ดี อาจทำให้เกิดปัญหากับกรมสรรพากร
- ช่วยบริหารเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ – ระบบบัญชีช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์วางแผนงบประมาณสำหรับการขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น
ระบบบัญชีที่ธุรกิจแฟรนไชส์ควรมี
หากคุณต้องการจัดการบัญชีแฟรนไชส์ให้เป็นระบบ สามารถใช้ ตัวอย่าง รายรับ รายจ่าย ยื่น สรรพากร เพื่อช่วยให้การทำบัญชีง่ายขึ้น
✔️ บันทึกรายรับจากการขายสินค้าและบริการ
✔️ ติดตามค่าใช้จ่าย เช่น ค่าสิทธิแฟรนไชส์ และค่าดำเนินการอื่น ๆ
✔️ วางแผนภาษีและจัดทำเอกสารยื่นต่อกรมสรรพากร
✔️ ตรวจสอบกระแสเงินสดและบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ
สรุป
ธุรกิจ แฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีระบบบัญชีที่แม่นยำเพื่อควบคุมต้นทุน วางแผนภาษี และติดตามรายรับ-รายจ่ายอย่างถูกต้อง หากคุณต้องการระบบบัญชีที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ลองใช้ ตัวอย่าง รายรับ รายจ่าย ยื่น สรรพากร เพื่อช่วยให้การทำบัญชีง่ายขึ้นและถูกต้องตามมาตรฐาน!
บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
รับทำบัญชี
โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
แนวข้อสอบบัญชีเบื้องต้น พื้นฐานของโลกธุรกิจ ที่เน้นการ บันทึก-จัดประเภท-สรุปผลทางการเงิน ของกิจการ ผู้เรียนต้องเข้าใจ บัญชีเดบิต เครดิต งบการเงิน รายการ
สมัครงานตำแหน่งบัญชี เนื่องจากทุกธุรกิจ ต้องมีการจัดการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือองค์กรใหญ่ นักบัญชี คือหัวใจในการควบคุมงบประมาณ บันทึก
Brought Forward บัญชี ยอดยกมา หรือยอดคงเหลือจากงวดก่อนหน้า ที่ถูกนำมาตั้งต้นเป็นยอดเริ่มต้นในงวดปัจจุบัน เช่น หากคุณมียอดเงินสดในเดือนมิถุนายน
บัญชีบัตรเครดิต บัญชีทางบัญชีประเภทเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) ที่บันทึกภาระหนี้สินของผู้ถือบัตรกับสถาบันการเงินเจ้าของบัตร เมื่อคุณใช้บัตรเครดิตซื้อ
บัญชีโก: พลิกชีวิตเจ้าของธุรกิจด้วยการจัดการบัญชีอย่างม […]
บัญชีธนาคาร Shopee การบัญชีให้ถูกต้อง เพิ่มยอดขายแบบมือโปร! หรือเพิ่งเริ่มต้นขายของในแพลตฟอร์มนี้ คำว่า “บัญชีธนาคาร Shopee” ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ