ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% คืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ
ภาษีอากรที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคโดยรัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการ จะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ จะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า และการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต เพื่อการจำหน่ายสินค้าและการบริการ ทั้งการผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ VAT 7%
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ - จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ - ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า
สูตรคำนวณ VAT 7 คือ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษา VAT
“ราคาสินค้า/บริการ x VAT 7% (อัตราภาษี 7%) = ภาษีมูลค่าเพิ่ม”
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ขายโคมไฟราคา 1,070 โดยแบ่งเป็นต้นทุน 1,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบัน 70 บาท โดยบริษัทต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในทุกๆ เดือน
ภาษีนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ใน “ใบกำกับภาษี” ที่เราได้รับมาตอนชำระเงินเสร็จแล้ว
ภาษีการค้า คืออะไร
ภาษีการค้า คือ ภาษีที่เก็บจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ หรือเก็บจากองค์ประกอบของการซื้อขายดังกล่าว เช่น เก็บจากรายรับของการขายหรือเก็บจากรายจ่ายของการซื้อ
ภาษีการค้า ที่จัดเก็บในประเทศต่างๆ มีรูปแบบหรือลักษณะที่แตกต่างกันจำแนกตาม “ขั้นตอน” ของการจัดเก็บภาษี ควรจะจัดเก็บภาษีการขายนั้นจากการซื้อขายในทอดใดบ้าง สามารถแบ่งประเภทภาษีได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- การจัดเก็บภาษีการค้าเพียงขั้นตอนเดียว (single-stage sales taxes)
รัฐบาลจะเลือกเก็บในช่วงหนึ่งของการขายหรือการผลิต สินค้าที่ถูกเก็บภาษีการค้าแล้วจะไม่ถูกเก็บภาษีการค้าซ้ำอีก ยกตัวอย่าง ภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของการขายปลีก (retail sale tax) และภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของการขายส่ง (wholesale sale tax) และภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของโรงงานอุตสาหกรรม (manufacture sale tax)
- การจัดเก็บภาษีการขายในหลายขั้นตอน (multiple-stages sales taxes)
สินค้าที่ถูกเก็บภาษีการค้าแล้วครั้งหนึ่งอาจจะถูกเรียกเก็บซ้ำถ้ามีการซื้อขายเปลี่ยนมือกัน เช่น ภาษีการขายที่เก็บจากมูลค่าเพิ่ม (value-added tax) และภาษีที่เก็บทุกทอดของการซื้อขาย (turnover tax)
ภาษีทางตรง คืออะไร
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้
ภาษีอากร คืออะไร
ภาษีอากร หมายถึง หนึ่งในรายรับสำคัญที่สุดของรัฐบาลที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศ และธุรกรรมต่างๆ ของรัฐอย่างถูกต้อง โดยความหมายของภาษีอากรเรื่องของความรู้เกี่ยวกับภาษี
ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลจัดเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการพัฒนาก่อสร้าง เพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ หน่วยงานของรัฐ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน เงินภาษีซึ่งการเรียกเก็บจากราษฎรนั้นโดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีประเทศไทย
ภาษีอากร ยังหมายถึง เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ภาษีการให้ยังไม่ได้รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือการให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล โดยภาษีไทย
ความสำคัญของภาษี
คือ แหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ ที่จะนำมาเงินภาษีในประเทศไทยมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ผลกระทบต่อรายได้ที่แท้จริงของผู้มีเงินได้ ดังนั้นการเก็บภาษีตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยต้องมีการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม การกระจายรายได้ การรักษาทางเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศทั้งนี้ทั้งนั้นนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการดำเนินภาษีในประเทศไทยตามนโยบายการเงินการคลังตามหลักการของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ดังนี้
- การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- การจำกัดการบริโภคหรือส่งเสริมการบริโภคบางชนิด
- การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตามภาษีอัตราก้าวหน้า
- การจัดสรรงบประมาณ รายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม
- การส่งเสริมสังคม การศึกษา การกีฬา และสิ่งแวดล้อม
ภาษีสรรพากร คืออะไร
ภาษีสรรพากร คือ The Revenue Department มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลเพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ที่เริ่มก่อตั้งในสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433
กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอะไรบ้าง
กรมสรรพากร คือ หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ การเก็บภาษีอากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่มบุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์
นอกจากนั้นยังพิจารณาปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและการส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี และยังทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ภาษีทางตรง มีอะไรบ้าง
ประเภทของภาษีทางตรง หมายถึง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยเก็บเป็นรายปี ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี มีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้จากการจ้างแรงงาน
- เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
- เงินได้จากค่าสิทธิ
- เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน(Capital Gain)
- เงินได้จากการให้เช่า
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือเงินได้อื่นๆได้นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็น ภาษีทางตรง ที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย
โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นเวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือนแล้วแต่กรณี สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
การเก็บภาษีมีลักษณะของความเป็นธรรม พิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากการดูแลของรัฐบาล
- 1. มีความแน่นอนและชัดเจน ประชนมีความเข้าใจได้ง่าย และป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- 2. มีความสะดวก วิธีการและเวลาในการเสียภาษีต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน อำนวยรายได้ เก็บภาษีได้ตามเป้าเพียงพอต่อการดำเนินงานของรัฐ
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ต้องไม่กระทบต่อกลไกลตลาด
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทภาษีอากร
ภาษีอากร (TAX)นั้นมีผู้ให้คำนิยามไว้หลายความหมายด้วยกัน หมายถึง เงินที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎรตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หมายถึง เงินที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการ กู้ยืมหรือขายสินค้า หรือ ให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล เงินที่บุคคลถูกบังคับให้ต้องจ่ายให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปใช้จ่ายใน กิจการอันเป็น สาธารณะประโยชน์ทั่วไป โดยที่ผู้จ่ายไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
ภาษีอากรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
หลักการจัดเก็บภาษีตามประเภทของภาษีอากรที่สำคัญในประเทศไทย ความหมายของภาษีประกอบไปด้วย 8 ประเภทหลัก ดังนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ วิธีหนึ่งในการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ตั้งแต่ตอนผู้จ่ายหรือคู่ค้า ทำการ “จ่ายเงินได้” ให้กับเราหรือกิจการของเรานั่นเอง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่7%) ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรจะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บสำหรับกิจการที่เฉพาะเจาะจง เช่นการธนาคาร การจำนำ ประกันชีวิต หรือการขายอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินในเชิงการค้าเพื่อทำกำไร
- อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการทำสัญญาร่วมกัน เช่น สัญญาเช่าที่ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างทำสินค้าหรือของ
- ภาษีศุลกากร อ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นกำแพงภาษีป้องกันราคาสินค้าและคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่ปัจจุบันเริ่มลดความสำคัญลงเนื่องจากหลายประเทศรวมตัวกันเปิดการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
- ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการค้า ที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพและสังคม เช่น สุรา เหล้า บุหรี่
นี่คือ 8 ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญซึ่งคนไทยทุกคนควรมีความรู้เบื้องต้น ว่าทำไมต้องเสียภาษี การเรียกเก็บภาษีทำไปเพื่ออะไร และประโยชน์คือ อะไรที่คนไทยรับจากการเสียภาษี
วิธีหาราคาก่อน VAT
การคำนวณก่อน VAT หรือการคิดส่วนลดก่อน VAT เพื่อคำนวณให้กับผู้ซื้อว่าสรุปแล้วมูลค่าสินค้าจริงคือเท่าไหร่กันแน่ โดยการคำนวณในเรื่องนี้ประเด็นสำคัญคือต้องทำก่อนการบวก VAT เข้าไปเสมอ เพื่อให้ได้มูลค่าสินค้าที่แท้จริง โดยมีสูตรคำนวณภาษีคือ
สูตรวิธีการคำนวณภาษี
มูลค่าสินค้า / บริการ ยังไม่รวม VAT 7% – ส่วนลด
และเมื่อได้ราคามูลค่าที่แท้จริงก่อนเรียกเก็บลูกค้าให้ + VAT 7% เพิ่มเข้าไป
ตัวอย่างเช่น : ร้านขายอาหารชาบูมีราคาต่อหัวไม่รวม VAT อยู่ที่ 399 บาท โดยมีส่วนลดให้ลูกค้า 5% ในวันเปิดร้าน ซึ่งร้านนี้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีการคิด Service Charge การคำนวณเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายเมื่อแทนตามสูตรคือ
(399 – 5%) = 379.05 บาท
เท่ากับว่าราคาที่แท้จริงเมื่อหักส่วนลดแล้วอยู่ที่ 379.05 บาท จากนั้นเวลาเรียกเก็บเงินจากลูกค้าก็จะ + VAT 7% เข้าไปด้วยก็จะได้
คำตอบ : 379.05 + 7% = 405.58 บาท
ภาษีก้าวหน้า
อัตราภาษี ก้าวหน้า คือ อัตราภาษีที่อัตราภาษีจะสูงขึ้นตามระดับเงินได้สุทธิที่นำมาใช้คำนวณภาษีเงินได้ ทำให้ผู้เสียภาษียิ่งมีเงินได้สุทธิสูงก็จะยิ่งเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าที่ยิ่งสูงขึ้น โดยในแต่ละขั้นของเงินได้จะใช้อัตราภาษีในการคำนวณที่ต่างกันและนำภาษีที่คำนวณได้ในแต่ละขั้นของภาษีอัตราก้าวหน้ามารวมกันเป็นภาษีที่ต้องจ่าย
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐมีวัตถุประสงค์หลายประการซึ่งพอได้ดังนี้
- เพื่อหารายได้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เพื่อใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ ซึ่งกิจการที่ว่า เป็นกิจการเพื่อส่วนรวมเช่น การสร้างถนน การใช้จ่ายด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา จึงทำให้ประชาชนที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี นั้นเอง
- เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินระบบ ภาษีอากรมา กระตุ้นความเจริญเติบโต เช่น การลดอัตราภาษีอากรเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน การยกเว้นการจัดเก็บภาษีของธุรกิจเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment)
- เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริโภคของประชาชน ซึ่งรัฐบาลสามารถนำระบบ การจัดเก็บภาษีอากร เพื่อเสียภาษีสรรพกร รวมถึงการควบคุมการบริโภคของประชาชน เช่น การเรียกเก็บภาษีจากสินค้า ประเภทฟุ่มเฟือยไม่ได้ จำเป็นต่อการครองชีพให้สูงทำให้มีราคาแพงเพื่อ ป้องกันมิให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเงินฟุ่มเฟือยจนเกินไป
- เพื่อเป็นเครื่องมือรักษาเสถียรภาพในทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ รัฐบาล เป็นรายได้หลักของรัฐบาล จำเป็นต้องมีการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจเช่นการกระตุ้นการจ้างงานใน ยามที่ เศรษฐกิจตกต่ำ การป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี
- เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นการกระจายความมั่งคั่งของกลุ่มคน ร่ำรวยมาสู่คนยากจน ซึ่งนับว่าเป็นการลดช่อง ว่างระหว่างกลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่มให้น้อยลงเพราะ การยื่นภาษี คือ ตามหลักการจัดเก็บภาษีนั้น เนื่องจากคนที่มีรายได้มากย่อมต้องรับภาระภาษีมาก ส่วนคนรายได้ปานกลางจนถึงรายได้น้อยจะต้องเสียภาษีน้อยหรืออาจไม่ต้องเสียเลย เป็นหลักการที่ทำถูกแล้ว
- เพื่อเป็นเครื่องมือสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยปกติเมื่อรัฐบาลต้องการเงินเพื่อใช้ในโครงการใหญ่ (Mega Project) ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากรัฐบาลอาจใช้การจัดเก็บภาษีอากรบางชนิดให้มาก ขึ้นเพื่อนำเงินที่ได้มาทำโครงการให้ได้ตามนโยบายของรัฐ
รายได้เท่าไหร่เสียภาษี
บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพราะมีระบุไว้ในกฎหมาย และตามกฏหมายแล้ว ได้ระบุว่าให้บุคคลทุกคนที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี ถ้าบุคคลนั้นมีเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี เกิน 319,000 บาทขึ้นไป ต่อปี และแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน (แต่ไม่ต้องจ่ายภาษี) ตามหลักการจัดเก็บภาษี
วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย : รายได้เท่าไหร่เสียภาษี
สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท* + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท
* ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
จะได้สูตรคำนวณเงินได้สุทธิ ดังนี้
เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ : รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องเสียภาษี และเสียภาษีร้อยละเท่าไหร่กันบ้าง
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ปรับปรุงใหม่) |
||
เงินได้สุทธิ |
อัตราภาษี (ร้อยละ) |
|
0-150,000 |
ได้รับการยกเว้น |
|
150,001-300,000 |
ร้อยละ 5 |
|
300,001-500,000 |
ร้อยละ 10 |
|
500,001-750,000 |
ร้อยละ 15 |
|
750,001-1,000,000 |
ร้อยละ 20 |
|
1,000,001-2,000,000 |
ร้อยละ 25 |
|
2,000,001-5,000,000 |
ร้อยละ 30 |
|
5,000,001 ขึ้นไป |
ร้อยละ 35 |
|
ลดหย่อนภาษีคืออะไร
- ลดหย่อนภาษีส่วนตัว
ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
- ลดหย่อนภาษีคู่สมรส
ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้
- ลดหย่อนภาษีบุตร
ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ลดหย่อนภาษีบิดามารดา
ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้
- ลดหย่อนภาษีผู้พิการ
ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น
- ค่าฝากครรภ์และทำคลอด
ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
- ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน
– เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
– เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
– เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
– เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
– กองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,100 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)
– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
– กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค เงินบริจาคทั่วไป เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ เงินบริจาคพรรคการเมือง
- ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
อากรแสตมป์มีขายที่ไหน
แสตมป์อากร ซื้อที่ไหน เมื่อประชาชนทั่วไป ติดต่อธุระกับหน่วยงานราชการ เวลาที่ต้องมีการมอบอำนาจหรือทำธุรกรรมต่าง ๆกับหน่วยงานราชการ จำเป็นต้องมีการติดอากรแสตมป์ ในหนังสือสัญญาหนังสือมอบอํานาจทั่วไป หนังสือมอบอํานาจขนส่ง
อากรแสตมป์ซื้อที่
- ที่ทำการไปรณีย์ทุกพื้นที่
- ร้าน 7-11 มีขายเป็นบางสาขาจะต้องสอบถามพนักงานของสาขา
- ร้านขายเครื่องเขียนใกล้บ้าน
- สรรพากร
- สถานที่ราชการต่าง ๆ
- เว็บไซต์ที่มีขายอากรแสตมป์
วิธีการเสียภาษี
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
- ชำระด้วยเงินสด
- ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม) สามารถชำระภาษีได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
- ชำระด้วยธนาณัติ
ความหมายของภาษี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรียกย่อๆ ว่า แวต(VAT) คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบด้วย
1. ภาษีซื้อ Input Vat คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาการซื้อวัตถุดิบ/สินค้า/สินทรัพย์และบริการต่างๆ จากกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ภาษีขาย (Output Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายวัตถุดิบ/สินค้าและบริการต่างๆ ของกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
Value Added คือ
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการในทางการตลาด ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นให้กับสินค้าและบริการ เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการน่าจดจำ ตอบสนองความต้องการซื้อของลูกค้า มีจุดเด่นที่แตกต่างไปจากเดิม
ใบกำกับภาษี คือ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (Tax Invoice) คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ใบกำกับภาษีแบบนี้ต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด (มาตรา 86/4) และใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อย (Abbreviation Tax Invoice) หรือเรียกย่อๆว่า ABB Tax Invoice คือใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ใบกำกับภาษีอย่างย่อยนี้อาจจะออกด้วยมือหรือออกด้วยเครื่องบันทึกเงินสด ใบกำกับภาษีแบบนี้ใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งความประสงค์ต้องการใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
บริการ คืออะไร
(Service) คือ การให้ความช่วยเหลือ หรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นการบริการที่ดี ผู้รับบริการก็จะได้รับความประทับใจ และชื่นชมองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งดีสิ่งหนึ่งอันเป็นผลดีกับองค์กรของเรา เบื้องหลังความสำเร็จเกือบทุกงาน มักพบว่างานบริการเป็นเครื่องมือสนับสนุนงานด้านต่าง ๆ เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานบริการวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าบริการดี
คำว่า “Service” แยกอักษรออกเป็นความหมายดังนี้
S = Smile แปลว่า ยิ้มแย้ม
E = enthusiasm แปลว่า ความกระตือรือร้น
R = rapidness แปลว่า ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ
V = value แปลว่า มีคุณค่า
I = impression แปลว่า ความประทับใจ
C = courtesy แปลว่า มีความสุภาพอ่อนโยน
E = endurance แปลว่า ความอดทน เก็บอารมณ์
เงินคืนภาษีกี่วันได้
ยื่นภาษีออนไลน์ กี่วันได้คืน: ผู้ที่เสียภาษีผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หากเอกสารครบถ้วน จะได้รับเงินคืนภาษีภายใน 3 วัน ผ่านระบบคืนภาษีพร้อมเพย์
ยื่นภาษีเอกสาร กี่วันได้เงินคืน: โดยผู้ที่ยื่นภาษีแบบส่งเอกสาร จะมีระบบเวลารับเช็คเงินคืนประมาณ 45 วัน
แหล่งอ้างอิง :
https://www.prachachat.net/politics/news-745498
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~achairat/12%20General%20Taxes.pdf
https://insurethink.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-20000-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5/
https://www.ddproperty.com
ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง เงินที่รัฐบาลเรียกเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบธุรกิจทั้งซื้อมา ขายไป หรือผลิตเป็นต้น เป็นภาษีที่อยู่ในตัวสินค้า หรือบริการต่างๆ ที่ประกอบกิจการภายในประเทศไทย วิธีการทำงานของ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน(ประโยชน์) คือ รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีนี้กับบุคคล หรือกิจการที่ขายสินค้าทุกประเภท ทำให้รัฐสามารถทราบถึงรายได้ที่บุคคล หรือกิจการนั้นทำมาหาได้ว่าเป็นเงินเท่าโดยการดีดตัวเลขกลับจากจำนวน VAT ที่นำส่งนั้นเอง เรียกได้ว่าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมานานตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน
อธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร
ในอดีตก่อนจะมีการเรียกเก็บภาษีอย่างเป็นทางการ และถูกต้องตามกฎหมายในสังคมไทยสมัยนั้นให้มองว่าเป็นการเรียกเก็บ “ส่วย” จากผู้คนที่ค้าขายต่างๆ เพื่อให้ประเทศมีเงินใช้จ่ายในการพัฒนาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการเมือง การปกครอง ถนน สาธารณูปโภคต่างๆ ล้วนมาจากการเก็บเงินที่เรียกว่า “ส่วย” จากประชาชนที่อาศัยในประเทศ
เมื่อประเทศพัฒนาและเติบโตมากขึ้น และก้าวสู่สังคมที่มีกฎหมายที่ชัดเจนขึ้นตามยุคสมัย ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยจึงได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT ) เป็นครั้งแรก ประเทศไทยจึงจัดเก็บเงินส่วนนี้ ที่มาจากความสะดวกสบายทุกอย่างที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ความหมายของ VAT อาจตีความได้หลายแบบมากกว่าหนึ่งแบบ แต่หลักๆ แล้วมันคือการจัดเก็บจากจับจ่ายใช้สร้อยของประชาชน