มาตรฐานการบัญชีของระบบธุรกิจ SME ต้องทำอย่างไร

Click to rate this post! [Total: 146 Average: 5] มาตรฐา …

มาตรฐานการบัญชีของระบบธุรกิจ SME ต้องทำอย่างไร Read More »

Click to rate this post!
[Total: 146 Average: 5]

มาตรฐานการบัญชีของระบบธุรกิจ SME ต้องทำอย่างไร

                     สมัยก่อนผู้ประกอบการ SME มักจะไม่ค่อยสนใจการบันทึกบัญชีสักเท่าไหร่ แต่ในปัจจุบันทำให้หลายๆ กิจการต้องหันกลับ มามองฝ่ายบัญชีในธุรกิจของตนเองอย่างจริงจัง จากเดิมที่ท่านสนใจแต่ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ที่คิดแต่จะหาเงินและหากำไร มัวแต่ไปคิดว่าต้นทุนที่ตนผลิตออกไปต่ำก็โอเคแล้ว
                   ซึ่งอาจจะลืมไปว่าต้นทุนที่แท้จริงยังมีอะไรอีกบ้าง แทนที่จะได้กำไรกลับทำให้ขาดทุน เพราะหากคุณเข้าใจหลักการที่ใช้จัดทำงบการเงินการบัญชีแล้วและสามารถอ่านงบการเงินได้อย่างเข้าใจโดยสามารถวิเคราะห์ได้แบบง่าย ๆ คุณก็จะใช้ประโยชน์จากการทำบัญชีได้อย่างมากมาย การตัดรายการบัญชี ต้องทำอย่างไร การรับรู้รายการหรือการตัดรายการบัญชี ส่วนใหญ่จะทำเมื่อกิจกรรมทางธุรกิจเกิดแล้ว และจะต้องทำการลงบัญชีทันที หรือรอก่อนได้ ซึ่งแม้แต่มีรายการอยู่ในบัญชีแล้วต้องการจะตัดออกจะตัดออกไปอย่างไร เหล่านี้ล้วนมีกฎข้อบังคับทางบัญชีทั้งสิ้น ผู้ประกอบการจะต้องรู้ว่ารายการเกิดแล้ว และยังไม่ได้เงิน หรือยังไม่จ่ายเงินโดยที่จะต้องรับรู้แล้ว ส่วนจะรับรู้เป็นประเภทไหนก็ตาม การทำหลักบัญชีจะยึดเอาหลักเกณฑ์คงค้าง ไม่ใช่เกณฑ์เงินสด และถ้าหากลงบัญชีจะลงเป็นราย การประเภทไหน มีรายได้ และค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หรือหนี้สิน เพราะส่วนใหญ่รายการลงบัญชีจากรายได้และค่าใช้จ่ายจะไปแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุน ส่วนรายการสินทรัพย์ หนี้สินหรือส่วนของทุน จะไปแสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน การบันทึกราคาก่อนลงบัญชี มูลค่าหรือจำนวนเงินที่จะบันทึกนั้น ส่วนใหญ่จะบันทึกตามราคาทุนที่จ่ายไปจริง หรือตามมูลค่าราคาที่กิจการขายได้ แต่ก็มีหลักการว่าทุกครั้งที่มีการปิดบัญชี สินทรัพย์ หรือหนี้สินจะต้องมีการวัดมูลค่าใหม่ เพื่อทำให้ยอดเงินที่อยู่ในงบการเงินเป็นยอดเงินที่เป็นตามจริง ซึ่งถ้าหากมีลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ก็อาจจะต้องมีการลดมูลค่าลง โดยที่เรียกกันว่าสำ รองหนี้สงสัยจะสูญ หรือสินค้าคงเหลือซึ่งจะแสดงในงบแสดงฐานะทางการเงิน แต่จะต้องตีราคาทุนหรือราคาที่จะขายได้แล้วแต่ว่าอะไรที่ต่ำกว่า ซึ่งผลการเปลี่ยนแปลงที่มูลค่าหายไปจะกลายไปเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของงบกำไรขาดทุน การนำเสนองบการเงินของการทำบัญชี การเปลี่ยนแปลงการวัดมูลค่าของรายการในงบการเงิน ซึ่งนอกจากจะกระทบงบกำไรขาดทุนแล้ว ยังมีผลต่อการจ่ายเงินปันผล และยังมีผลต่อมูลค่าของกิจการหรือราคาหุ้นของกิจการอีกด้วย ส่วนการนำเสนองบการเงินของการทำบัญชีก็ต้องมีรูปแบบที่บังคับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นการดูเปรียบเทียบกันได้และเพื่อเข้าใจได้ว่า คุณมีฐานะการเงินอย่างไร และมีกำไรขาดทุนเท่าไหร่ คู่แข่งเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถดูได้จากงบการเงินของเขาเช่นกัน การนำเสนองบ ฯ สามารถวิ เคราะห์ อัตราส่วนทางการเงินและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายการต่าง ๆ และสภาพคล่อง รวมถึงสัดส่วนหนี้สินต่อทุน ทำให้รู้ความสามารถในการหากำไรและยังสามารถคาดเดาอนาคตได้อีกด้วย
 

ร้านโชห่วย กิจการค้า รายรับ รายจ่าย?

หัก ณ ที่จ่าย ร้านขาย ของชำ สมัยใหม่ สร้างร้านขายของเล็กๆ เปิดร้านขายของในหมู่บ้าน เปิดร้านขายของ ชํา ต้อง จดทะเบียน อะไรบ้าง ร้านขายของชำ ซื้อของที่ไหน ร้านขาย ของชำ บ้านนอก สร้างร้านขายของ งบน้อย เปิดร้านขาย ของชำ กับ แม็คโคร

รับทำบัญชี.COM — ร้านอาหาร •OMG• ภาษี รายได้ รายรับ รายจ่าย?

เปิดร้านอาหาร คนเดียว สร้างร้านอาหารแบบประหยัด สร้างร้านอาหาร งบ หลักหมื่น กลยุทธ์ ในการเปิดร้านอาหาร กฎหมายการเปิดร้านอาหาร โครงสร้างร้านอาหารเล็กๆ การเปิดร้านอาหาร ต้องขออนุญาต อะไรบ้าง แชร์ประสบการณ์เปิดร้านอาหาร

โซลาร์รูฟท็อป กิจการค้า รายรับ รายจ่าย?

หัก ณ ที่จ่าย เริ่มต้น ธุรกิจโซล่าเซลล์ แผนธุรกิจโซล่าเซลล์ โซ ล่า รู้ ฟ ท็ อป ราคา แนวโน้มธุรกิจโซล่าเซลล์ โซลาร์รูฟท็อป ราคา ธุรกิจโซล่าเซลล์ ตลาด โซลา ร์ รู ฟ ท็ อป
นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรับสภาพน้ำ และอาหารเสริมสำหรับพืช

ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม บริจาคสินค้า

บริจาคสินค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  บริษัท บริจาค สินค้า ให้วัด ภาษีมูลค่าเพิ่ม  บริจาคสินค้าให้โรงพยาบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม  นําสินค้าไปบริจาค บันทึกบัญชี บริจาคสินค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซื้อของไปบริจาค ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ บริจาคสินค้าที่ผลิตเอง ซื้อของบริจาค ภาษีซื้อ

บริษัทบัญชี 50 ดังๆ สำนักงานบัญชี ไม่พลาดก่อนเลือกใช้บริการ?

บริษัทตรวจสอบบัญชี big 4 บริษัทตรวจสอบบัญชี big 5 บริษัท ตรวจ สอบบัญชี 10 อันดับ ชื่อบริษัทบัญชี บริษัท big4 อยู่ที่ไหน บริษัท บัญชี ต่างชาติ บริษัท big4 ในไทย บริษัท ตรวจ สอบบัญชีใน ตลาดหลักทรัพย์

Leave a Comment

Scroll to Top