รอบระยะบัญชีสำหรับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ นักบัญชี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิจะต้องคำนวณกำไรสุทธิของรายได้จากกิจการ หรือจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี นำหักรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ได้มีการระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ได้ทำการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีเอาไว้ดังนี้
1. รอบระยะเวลาบัญชีทั่วไปตามมาตรา 65 รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเท่ากับ 12 เดือน ซึ่งจะเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใดก็ได้
2. รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปจะต้องเท่ากับ 12 เดือน
2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน 2.3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกัน ให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
2.4 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตามข้อ
2.5 ซึ่งอาจจะน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชีไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบที่ชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น
3. รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจจะขยายออกไปมากกว่า 12 เดือน ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถทำการยื่นรายการและเสียภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้ พบกันได้ใหม่หมดความหน้าค่ะ