การรับรู้และการกำหนดมูลค่าของที่ดิน

กำหนดมูลค่าของที่ดินอาคารและอุปกรณ์บันทึกบัญชี TAS19 เรื่อง?

กำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

การรับรู้และการกำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

+++การรับรู้และการกำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์+++
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ จะถูกรับรู้เป็นสินทรัพย์ถาวร ( Recognition of Property Plant and Equipment ) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 ( ปรับปรุง 2552 ) เรื่องที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดังนี้
1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สินทรัพย์ถาวรนั้น จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการในอนาคต
2. กิจการสามารถกำหนดราคาทุนของสินทรัพย์ถาวรนั้น ได้อย่างสมเหตุสมผล

การกำหนดมูลค่า ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ จะถูกกำหนดมูลค่าตามราคาทุน ( Cost ) ตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 ( ปรับปรุง 2552 ) ได้กำหนดไว้คือ กิจการต้องบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน ราคาทุนของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ประกอบด้วยราคาซื้อ ภาษีต่างๆ เช่น ภาษีนำเข้า ภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ ค่านายหน้า ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ค่าขนส่งเริ่มแรก ค่าประกันภัยระหว่างขนส่ง ต้นทุนการเตรียมสถานที่ ต้นทุนการติดตั้ง ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ เช่น ค่าจ้างสถาปนิก ค่าจ้างวิศวกร ประมาณการรายจ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้าย ค่าใช้จ่ายในการบูรณะสถานที่ภายหลังเมื่อเลิกใช้สินทรัพย์ตามสัญญา ในกรณีได้รับส่วนลดเงินสด หรือภาษีที่ได้รับคืน จะต้องนำมาหักจากราคาทุนของสินทรัพย์

ราคาทุนของที่ดิน รายจ่ายในการได้มาของที่ดินและรายจ่ายในการปรับปรุงที่ดิน ให้พร้อมใช้เป็นราคาทุนของที่ดิน ( Cost of land ) เช่น ราคาซื้อ ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าธรรมเนียมทนายความ ค่านายหน้า ค่าภาษีที่ผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย รวมถึงค่าถมที่ ค่าเกลี่ยที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการปรับผืนดิน ที่ดินที่ซื้อมาถ้ามีอาคารเก่าติดมาด้วยค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนเป้นราคาทุนของที่ดิน ค่าขายเศษซากจะได้นำไปหักจากราคาทุนของที่ดิน

ค่าปรับปรุงที่ดิน รายจ่ายในการปรังปรุงที่ดิน ( Land Improvement ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแต่มีความแตกต่างจากที่ดิน คือที่ดินเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานที่ไม่จำกัด ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคา แต่ค่าปรับปรุงที่ดินมีอายุการใช้งานจำกัด ต้องคิดค่าเสื่อมราคา จึงต้องแยกบันทึกบัญชี ค่าปรับปรุงที่ดิน เช่น ค่าก่อสร้างทางเท้า ทำถนน ไฟถนน รั้ว ที่จอดรถ ค่าขุดวางทอระบายน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสีย

ราคาทุนของอาคาร รายจ่ายทั้งหมดในการได้มาของอาคาร จะรวมเป้นราคาทุนของอาคาร ( Cost of building ) เช่น ราคาซื้อ ค่านายหน้า ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงค่าจดจำนองที่กิจการได้จ่ายแทนผู้ขาย ในกรณีก่อสร้างอาคารเอง ราคาทุนของอาคารจะประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตก่อสร้าง ค่าแบบแปลน ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมสถาปนิก วิศวกร ค่าเบี้ยประกันระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมในการก่อสร้าง

ราคาทุนของอุปกรณ์ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาของอุปกรณ์ รงมค่าใช้จ่ายที่ทำให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพและสถานที่พร้อมใช้งานได้รวมเป้นราคาทุนของอุปกรณ์ ( Cost of equipment ) อุปกรณ์ ตามความหมายของศัพท์บัญชี หมายถึง ทรัพย์สินถาวรที่สามารถเคลื่อนย้าย หรือถอดถอนได้ อุปกรณ์มีความหมายรวมถึง เครื่องจักร อุปกรณ์โรงงาน อุปกรณ์การขนส่ง อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องตกแต่งและติดตั้ง เป็นต้น ราคาทุนของอุปกรณ์ ได้แก่ ราคาซื้อ ค่าภาษี ค่าขนส่ง ค่าเบี้ยประกันระหว่างการขนส่ง ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเดินเครื่อง ค่าตอบแทนวิศวกรในการทดลองเดินเครื่องในกรณีรับส่วนลดต่างๆ จะเป็นยอดหักจากราคาทุน
แหล่งอ้างอิง : หนังสือการบัญชีชั้นกลาง 1 ( ผศ. ทิพสุดา คมวงศ์วิวัฒน์ )

การกำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ในบัญชีและการบริหารการเงินมักต้องปฏิบัติตามหลักการและเกณฑ์บัญชีที่ถูกต้อง แต่อาจมีหลักการและวิธีการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินและวัตถุประสงค์ทางการเงินของบริษัทหรือองค์กร

  1. การกำหนดมูลค่าที่ดิน (Land Valuation)
    • สำหรับที่ดินที่ไม่ใช้ในการประกอบธุรกิจหรือไม่มีการสร้างสิ่งก่อสร้าง การกำหนดมูลค่าสามารถใช้มูลค่าตลาดปัจจุบันที่ปรากฏในตลาดเป็นหลัก
    • สำหรับที่ดินที่มีการสร้างสิ่งก่อสร้างอยู่ มูลค่าที่ดินมักถูกนำมาคำนวณเฉพาะส่วนที่เป็นที่ดินว่าง โดยเทียบกับการประกาศมูลค่าของที่ดินว่างในพื้นที่เดียวกัน
  2. การกำหนดมูลค่าอาคาร (Building Valuation)
    • การกำหนดมูลค่าอาคารมักใช้วิธีการประเมินมูลค่าของอาคารตามสภาพปัจจุบัน (Market Approach) หรือการประเมินมูลค่าของอาคารตามต้นทุนที่มีต่อการสร้างใหม่ (Cost Approach) โดยคำนวณค่าต้นทุนสร้างใหม่และหักค่าความเสื่อมทราบระยะเวลา (Depreciation) ออก
  3. การกำหนดมูลค่าอุปกรณ์ (Equipment Valuation)
    • การกำหนดมูลค่าอุปกรณ์มักใช้วิธีการประเมินมูลค่าตามสภาพปัจจุบัน (Market Approach) หรือการประเมินมูลค่าตามต้นทุนที่มีต่อการซื้อใหม่ (Cost Approach) โดยคำนวณค่าต้นทุนของอุปกรณ์ตามราคาที่เสนอจากผู้จำหน่ายหรือตลาดและหักค่าความเสื่อมทราบระยะเวลา (Depreciation) ออก

การกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้มีความสำคัญในการสร้างงบการเงิน การประเมินมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้มีผลต่อการบันทึกบัญชี การประเมินภาษี การรายงานการเงิน และการวางแผนการเงินในองค์กรหรือบริษัท นอกจากนี้ การประเมินต้องสอดคล้องกับกฎหมายและหลักการบัญชีที่ใช้ในประเทศและสภาพการเงินปัจจุบันของบริษัทหรือองค์กร

การรับรู้และการกำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
การรับรู้และการกำหนดมูลค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

บทความจากเว็บ รับทำบัญชี.COM
อ่านบทความทั้งหมด https://รับทําบัญชี.com/accounting-services

บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
รายการค้าหรือรายการธุรกิจประกอบด้วย 12 ข้อ เป้าหมายรายได้?

รายการค้าหรือรายการธุรกิจประกอบด้วย 12 ข้อ เป้าหมายรายได้?

9 โครงสร้างเบื้องต้นจัดตั้งกฎหมายบริษัทจำกัดเป้าหมายรายได้?

9 โครงสร้างเบื้องต้นจัดตั้งกฎหมายบริษัทจำกัดเป้าหมายรายได้?

แนวทางการบันทึกบัญชีของ อปท ผังบัญชีฉบับ 9 ปรับปรุงภาษีสุด?

แนวทางการบันทึกบัญชีของ อปท ผังบัญชีฉบับ 9 ปรับปรุงภาษีสุด?

หลักเงินค้างหรือ 1 เกณฑ์คงค้างปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวดครบ?

หลักเงินค้างหรือ 1 เกณฑ์คงค้างปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวดครบ?

โครงสร้างภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับได้เป็น 9 หัวข้อคือ?

โครงสร้างภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับได้เป็น 9 หัวข้อคือ?

วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายวันคิดอย่างไรนิยม 9 พนักงานรายวัน?

วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายวันคิดอย่างไรนิยม 9 พนักงานรายวัน?

สูตรหากำไรขั้นต้น มาเปรียบเทียบกําไรสุทธิ 1 สินค้าหรือบริการ?

สูตรหากำไรขั้นต้น มาเปรียบเทียบกําไรสุทธิ 1 สินค้าหรือบริการ?

วิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสดตามตอนที่ 2 อัตราส่วน?

วิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสดตามตอนที่ 2 อัตราส่วน?

การบัญชีเพื่อความยั่งยืนบทความวิจัยการบัญชี 2 ทำแบบยาวนาน?

การบัญชีเพื่อความยั่งยืนบทความวิจัยการบัญชี 2 ทำแบบยาวนาน?

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

ส่วนลดจ่าย อยู่หมวดไหนมาตรฐานรายงานทางการเงินตาม 9 เงื่อนไข?
อาชีพสุจริตทั้งหมดมีอะไรบ้างตลาดในฝัน 350 สำหรับคนประเทศไทย?
สัญญากู้ยืมกรรมการเงินบริษัท 9 แบบฟอร์ม WORD PDF ใบไม่มีดอก?
ต้นทุนขาย มีอะไร สูตรบัญชีตัวอย่างงบต้นทุนขาย 9 COGS บริหาร?
ใบเบิกเงินสดย่อย ตัวอย่าง 9 แบบฟอร์ม XLS WORD รายการเอกสาร?
เงินกู้ยืมกรรมการจากกิจการโดยแบ่งออกเป็นประเภท 9 ในหลายหมวด?
บันทึกบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่ายภงด 53 ตัวอย่าง EXPRESS กี่ประเภท?
รายได้รับล่วงหน้าตัวอย่างบันทึกบัญชี 9 Deferred Incomes หมวด?
แบบฟอร์มใบสั่งซื้อสินค้า PO ขั้นตอน 9 ตัวอย่าง EXCEL WORD ครบ?
เงินเบิกเกินบัญชีหมายถึง 9 บันทึกหมวด BANK OVERDRAF มีวงเงิน?