งบประมาณ ต้นทุนการผลิต
การประมาณการต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ฝ่ายบริหารเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวางแผน การควบคุมการดำเนินงาน เพื่อนบริหารกิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องกันการผลิต
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตมีดังนี้
- เพื่อกำหนดหาต้นทุนที่ใกล้เคียงที่สุด
- เพื่อควบคุมและลดต้นทุนการผลิต
- เพื่อตัดสินใจและวางแผนงานต่างๆ
- เพื่อกำหนดกำไรและฐานะทางการเงินของกิจการ
- เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผลและควบคุมบริหารงาน
สูตรในการคำนวณปริมาณการผลิต มีดังนี้
ปริมาณสินค้าที่ผลิต =ปริมาณหน่วยขาย + สินค้าปลายงวด – สินค้าต้นงวด
ตัวอย่าง
บริษัท…… | |||||
งบประมาณการผลิต | |||||
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2562 | |||||
ไตรมาส | ปี | ||||
จำนวนหน่วยที่ขาย | 2000 | 6000 | 6000 | 2000 | 16000 |
บวก : สินค้าปลายงวด | 500 | 500 | 500 | 100 | 100 |
รวมสินค้าที่ต้องการ | 2500 | 6500 | 6100 | 2100 | 16100 |
หัก : สินค้าต้นงวด | -100 | -500 | -500 | -100 | -100 |
จำนวนหน่วยที่ผลิต | 2400 | 6000 | 5600 | 2000 | 1600 |
ต้นทุนการผลิตจะมีความสัมพันธ์กับการผลิตโดยตรง การที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การผลิตสินค้าจำนวนมากอาจทำให้เกิดได้ทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงของ ต้นทุนการผลิต ยกตัวอย่างการลดลงของต้นทุน เช่น หากเราผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่องมากๆ พนักงานก็จะเกิดความชำนาญ แต่ก็อาจจะมีต้นทุนอื่นที่เพิ่มขึ้นมา คือ อาจจะมีงานค้างระหว่างการผลิตเพิ่มขึ้นมาแทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาเป็นข้อมูลให้ฝ่ายบริหารนำมาวิเคราะห์และประมาฯการต้นทุนการผลิต เพื่อหาจุดที่เหมาสมในการวางแผนและบริหาร การสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆต่อไป
งบประมาณ ต้นทุนการผลิต