ค่ารับรองที่สรรพากรยอมรับ
2. บุคคลซึ่งได้การรับรองหรือรับบริการ ต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรอง หรือการบริการนั้นด้วย
3. ค่ารับรองหรือค่าบริการ ต้อง
3.1) เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรอง หรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่ กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น หรือ
3.2) เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ
4. จำนวนค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของจำนวนเงินยอดรายได้ หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี หรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
1. ค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่าย
2. ต้องมีใบรับ หรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรอง หรือเป็นค่าบริการ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร
3. หากค่ารับรองมีภาษีซื้อเกิดขึ้น ไม่มีสิทธิ์ขอภาษีซื้อคืน แต่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายนำไปหักรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
ข้อสังเกตุ กรณีเดินทางไปต่างจังหวัด เพื่อส่งสินค้า เก็บเงิน หรือตรวจงาน ซึ่งต้องมีการเข้าพักที่โรงแรม มีค่าอาหาร และเครื่องดื่ม รายจ่ายนี้ไม่ถือเป็นค่ารับรอง แต่เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการประกอบธุกิจ ภาษีซื้อสามารถขอคืนได้ ไม่ต้องห้าม ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 143 กำหนดหลักเกณฑ์ของค่ารองรับที่สรรพากรยอมรับไว้
สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ขายของออนไลน์ จ้างทำบัญชี ค่าบริการ ทำบัญชี
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษีอย่างไร ดียังไง