ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
หากกิจการต้องการทราบมูลค่าสินค้าคงเหลือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น วิธีการหนึ่งในการคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือคือการใช้วิธีอัตรากำไรขั้นต้น จะทำให้ได้ มูลค่าสินค้าคงเหลือในราคาทุนโดยประมาณ การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยใช้อัตรากำไรขั้นต้นจะเหมาะสมในกรณีต่อไปนี้
– เมื่อต้องการทราบราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อจัดทำงบการเงินระหว่างกาล
– เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าที่ถูกทำลาย เช่น สินค้าถูกไฟไหม้ หรือสินค้าเกิดความเสียหายจากน้ำท่วม เป็นต้น
– เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าขึ้นมาใหม่เนื่องจากเอกสารหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับราคาทุนไม่สมบูรณ์
– เมื่อผู้สอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายในต้องการสอบราคาสินค้าคงเหลือที่คำนวณได้ตามวิธีอื่นว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการต้องการตั้งราคาขาย จะนำ กำไร+ราคาทุน = ราคาขาย เช่น กิจการต้องการกำไร 20% จากราคาทุน ดังนั้น ถ้าทุน 100 บาท แสดงว่าจะต้องขาย เท่ากับ 20+ 100 = 120 บาท
การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นสามารถกำหนดได้ 2 วิธี คือ
1. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต่ำ เป็นร้อยละของยอดขาย หมายความว่า ถ้านำอัตรากำไรขั้นต้นไปหักจากยอดขายก็จะได้ราคาทุนของสินค้า เช่น กิจการแห่งหนึ่งกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นไว้ 60% จากราคาขาย ดังนี้ ถ้าราคาขาย คือ 100 บาท แสดงว่าราคาทุนของสินค้าจะเท่ากับ 100 – 60 = 40 บาท หรืออีกนัยหนึ่งถ้าขาย 100% จะมีทุนเท่ากับ 40% นั่นเอง
2. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้น เป็นร้อยละของราคาทุน หมายความว่า กิจการกำหนดราคาขายโดยนำกำไรไปบวกด้วยราคาทุน เช่น กำหนดอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 40% ของราคาทุน หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท กิจการจะตั้งราคาขายเท่ากับ 140 บาท
การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็เป็นงานที่มีความสำคัญ
ณ วันสิ้นงวดการประเมินราคาสินค้าคงเหลือ หรือการตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็เป็นงานที่มีความสำคัญ และจำเป็นอันหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชีต้นทุน คือ การค้นหาเกณฑ์หรือวิธีการต่างๆ มาใช้ในการตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม เพื่อจะได้แสดงราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้อย่างถูกต้อง และใกล้เคียงกับความจำเป็นจริงมากที่สุด หากโรงงานหรือกิจการได้ทำการสะสมต้นทุนร่วมที่เกิดขึ้นในการผลิตไว้ตลอดทั้งปี และได้ทำการ ปันส่วนต้นทุนร่วมให้แก่ผลิตภัณฑ์ร่วมตามเกณฑ์ หรือวิธีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในวันสิ้นปี การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วม ก็ควรใช้ต้นทุนต่อหน่วยนั้นๆ คูณกับจำนวนหน่วยคงเหลือที่ได้จากการตรวจนับ ณ วันสิ้นปีนั้นๆ แต่หากกิจการได้มีการปันส่วนต้นทุนร่วมให้กับผลิตภัณฑ์ในทุกๆ งวดการผลิต เช่น ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน ต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ร่วมในแต่ละงวด ก็จะไม่เท่ากัน คือ มีต้นทุนต่อหน่วยหลายตัว ซึ่งในประเด็นนี้ การตีราคาสินค้าคงเหลือของผลิตภัณฑ์ร่วมในวันสิ้นปี ก็อาจเลือกใช้วิธีการตีราคาแบบ เข้าก่อน-ออกก่อน (First-in, First-out) หรือแบบเข้าหลังออกก่อน(Last-in, Last-out) เป็นต้น
วิธีการตีราคาสินค้าเพื่อกำหนดราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด
หลักการตีราคาสินค้าคงเหลือ (Inventory Valuation) การตีราคาสินค้าคงเหลือ วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ จรัญ ตันมา (2548 : 127) กล่าวถึงวิธีการตีราคาสินค้าเพื่อกำหนดราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด มี 3 วิธีคือ
1. การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุน (Cost Method)
2. การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือตลาดแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (The Lower of Cost of Market Inventory Method)
3.การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีการประมาณราคา (Estimated Inventory Method) ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 เรื่องสินค้าคงเหลือ โดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2546 มีดังนี้ “สินค้าคงเหลือควรตีตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า” สรุป การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดมีการตีราคาหลายวิธี โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมกับกิจการ การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีแตกต่างกันจะทำให้ราคาแตกต่างกันไปด้วย ทำให้มีผลกระทบต่อการคำนวณต้นทุนขาย กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิของกิจการ รวมทั้งมีผลทำให้แสดงรายการในงบการเงินด้วยมูลค่าที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐานการบัญชีได้เปิดโอกาสให้กิจการเลือกปฏิบัติได้ อาจคำนวณด้วยวิธีใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของธุรกิจของตน การตีราคา

อ่านบทความทั้งหมด >>> รับทำบัญชี.com

ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
ผลิตเฟอร์นิเจอร์พลาสติก กิจการค้า รายรับ รายจ่าย !
ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ รายรับ รายจ่าย โอกาส !
โทรศัพท์ กิจการค้า รายรับ รายจ่าย !
การ สร้างฐานลูกค้า ออนไลน์ ที่มั่นคง
รายจ่าย ที่นำมา หักลดหย่อน ได้
ไก่เนื้อ ภาษี กิจการค้า รายรับ รายจ่าย !
ร้านอาหาร รายรับ รายจ่าย โอกาส !
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ตาก ปิดงบ จดบริษัท 081•452•0000