3 การบัญชีเพื่อความยั่งยืน บทความ วิจัย วิจัยการบัญชี

Click to rate this post!
[Total: 2 Average: 5]

บัญชีเพื่ความยั่งยืน

การบัญชีสำหรับความยั่งยืนยาวนาน Accounting Sustainability

ความยั่งยืนยาวนาน (Sustainability) หมายถึงความร่วมมือกันระหว่างผลประโยชน์ของการพัฒนากับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการวางนโยบายและแผนงานที่สนับสนุนการผลิตในรูปแบบที่ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่สาธารณชนยอมรับได้ ความหมายของความยั่งยืนยาวนานดังกล่าวเป็นเพียงความหมายหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังขาดความเห็นพ้องร่วมกัน ความคลุมเครือของความหมายนี้กลับเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาแบบยั่งยืนจากฝ่ายต่างๆ สาระความคิดของความยั่งยืนยาวนานคือ การจัดการวัตถุและทรัพยากรทั้งปวงในทิศทางที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งและความกินดีอยู่ดี โดยปฏิเสธแนวนโยบายและวิธีการทุกชนิดที่สนับสนุนความเป็นอยู่พื้นฐานของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ อันส่งผลให้ชนรุ่งหลังมีชีวิตอยู่อย่างตกต่ำลง

การบัญชีสำหรับความยั่งยืนประกอบด้วย

การบัญชีสำหรับความยั่งยืนยาวนานเกี่ยวข้องกับการบัญชีสิ่งแวดล้อมโดยเป็นทางเลือกในอนาคตในการสร้างความยั่งยืนยาวนานและเพิ่มทางเลือกให้กับชนรุ่นหลัง การบัญชีสำหรับความยั่งยืนประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ
แนวสินค้าคงคลัง
แนวต้นทุนที่ยั่งยืนยาวนาน (Sustainable Cost Approach) ซึ่งทั้งสองแนวมีรากฐานมาจากการแบ่งแยกทุนออกเป็นทุนธรรมชาติ (ได้แก่ ชั้นโอโซน ต้นไม้ พลังงานจากซากสิ่งมีชีวิต หรือจากแหล่งใหม่) ทุนเทียม Artificial (ได้แก่ เครื่องจักร สิ่งปลูกสร้าง ถนน วิทยาการของมนุษย์) และแนววิธีการไหลผ่านของทรัพยากร/สิ่งป้อนเข้า-ผลลัพธ์ (Resource Flow/Input-Output Approach)
บัญชีเพื่ความยั่งยืน
บัญชีเพื่ความยั่งยืน

แนวสินค้าคงคลังเกี่ยวกับการระบุการบันทึก การควบคุมและการรายงานซึ่งอาจระบุเป็นเชิงปริมาณที่มิใช่ตัวเงินรายการต่างๆ ที่เกี่ยวกับทุนธรรมชาติและการเสื่อมสิ้นและผลดีที่ได้รับในเบื้องแรก บริษัทจะต้องระบุถึงทุนธรรมชาติโดยแบ่งออกเป็นชนิดวิกฤติ (Critical) ชนิดที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้และนำสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ (Non-Renewable/Non-Substitutable) ชนิดที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้และนำสิ่งอื่นมาทดแทนได้ (Non-Renewable/Substitutable) ชนิดที่สร้างขึ้นใหม่ได้ (Renewable) เมื่อระบุได้แล้วจึงรายงานถึงการเปลี่ยนแปลงของทุนประเภทต่างๆ ขั้นตอนที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเหล่านั้น และรายงานถึงการกระทำเพื่อเปลี่ยนแทน ทำขึ้นใหม่ หรือทดแทน

ทุนธรรมชาติที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้และไม่สามารถทดแทนได้

  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • แร่ธาตุอื่นๆและผลิตภัณฑ์แร่

ทุนธรรมชาติที่สามารถทดแทนได้แต่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

  • การใช้พลังงาน ความพยายามในการหาแหล่งที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ เช่นแร่ธาตุต่างๆ การพยายามยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ความสามารถในการนำมาซ่อมแซม (Repair) ให้อยู่ในสภาพเดิม และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
  • การขจัดกากของเสีย ระดับปริมาณกากของเสียที่เกิดขึ้นและชนิดของกากของเสีย

ทุนธรรมชาติที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

  • ผลิตภัณฑ์จากไม้ การใช้ การเก็บเกี่ยว การนำกลับมาใช้ใหม่
  • การฟื้นฟูหรือการทำลายแหล่งที่อยู่ การดูแลสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม น้ำ อากาศ เสียงรบกวน

ส่วนแนวความคิดต้นทุนที่ยั่งยืนมีรากฐานโดยตรงมาจากแนวความคิดทางการบัญชีในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุน (Capital Maintenance) โดยมีแนวคิดในการรักษาทุนธรรมชาติให้ธำรงไว้สำหรับเยาวชนในอนาคตหากแปลงแนวความคิดความยั่งยืนยาวนานมาสู่ระดับกิจการอาจกล่าวได้ดังนี้ กิจการที่ยั่งยืนจะต้องไม่ปล่อยให้สิ่งแวดล้อม ณ วันสิ้นปีบัญชีแย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ ณ วันต้นปีบัญชี

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

กิจการอาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไว้ในรายงานประจำปี ซึ่งจะแสดงให้เห็นตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รวบรวมจากรายงานของบริษัทต่างๆดังนี้

บริษัท ข้อมูลที่เปิดเผยโดยสังเขป
กรุงเทพเหล็กเส้น การติดตั้งเครื่องกำจัดฝุ่น
ทีพีไอ โพรีน การติดตั้งเครื่องดักฝุ่น
ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม โครงการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ระบบ Recycling น้ำอาคารประหยัดพลังงาน ระบบก่อสร้างประหยัดพลังงาน ระบบแบตเตอรี่แวนาเดียม
ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค การนำระบบการผลิตต่อเนื่องเพื่อลดความสิ้นเปลือมลภาวะ
เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม
เงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ ปลูกต้นกล้าไม้มะค่า 1000 ต้น
เอสแอนด์พี ซินดิเคท ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
บ้านปู โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยปลูกต้นไม้และปรับพื้นที่ให้เป็นแหล่งน้ำ
ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย โครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนอีกปีละ 1แสนตัน โดยลงทุนในระบบบำบัดน้ำเสียโดยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เน้นถึงความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม
กระดาษสหไทย โครงการปรับปรุงบำบัดน้ำเสีย

สิ่งที่ยากสำหรับบัญชีสิ่งแวดล้อมก็คือการรับรู้ (Recognition) การวัดหรือกำหนดมูลค่า (Measurement) การบันทึกและจัดประเภทรายการ (Recording And Classifying) ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินที่เกี่ยวกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วถึงแม้การบัญชีสิ่งแวดลอมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่แต่ทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม จึงเกิดความต้องการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัท หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานในหลายประเทศได้ให้ความสนใจโดยถือว่า การแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจอีกประหนึ่งของวิชาชีพ โดยร่วมแก้ไขวิกฤตการณ์นี้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับวิชาชีพอื่นเพราะทุกคนต่างอยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน

ดังนั้นกิจการต้องปฏิบัติตามแม่บทการบัญชี มาตรฐานการบัญชี แนวทางปฏิบัติทางการบัญชีและการรายงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การวัดมูลค่าการแสดงรายการของเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือรายงานอื่นๆ เช่น รายงานประจำปี รายงานของคณะกรรมการ นักบัญชียังคงยึดแม่บทการบัญชี หลักการบัญชี มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ การนำเสนองบการเงิน เป็นต้น

การบัญชีสำหรับความยั่งยืนยาวนาน
การบัญชีสำหรับความยั่งยืนยาวนาน

Leave a Comment

Scroll to Top