การจัดทำแนวทางการสอบบัญชีผู้สอบบัญชี 2 ข้อ เป้าหมายรายได้?

แนวทางการตรวจสอบบัญชี

การจัดทำแนวทางการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ

การจัดทำแนวทางการสอบบัญชี
1. ข้อพิจารณาในการจัดทำแนวทางการสอบบัญชี ในการจัดทำแนวทางการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องพิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ ขอบเขต และจังหวะเวลาในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
(1) วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้มาซึ่งหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฏในงบการ เงินเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ และเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญทางด้านภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร
2) ขอบเขตของการตรวจสอบและรับรองบัญชี การตรวจสอบอาจมีขอบเขตของงานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการรับงาน และธุรกิจที่ตรวจสอบ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตาม คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ
(3) จังหวะเวลาในการตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดจังหวะเวลาในการเข้าตรวจสอบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจที่ตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะใช้ เป็นต้น
1.2 ลักษณะและประเภทของธุรกิจที่ตรวจสอบ และปัญหาเฉพาะเรื่องของกิจการ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่กิจการดำเนินอยู่ ซึ่งได้แก่ ลักษณะของธุรกิจ ลักษณะการเป็นเจ้าของหรือรูปแบบของกิจการ การบริหารงาน วิธีการปฏิบัติงานของกิจการที่ตรวจสอบ และปัญหาเฉพาะเรื่องของกิจการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถระบุและเข้าใจเหตุการณ์ รายการ วิธีปฏิบัติงาน และความเสี่ยงที่งบการเงินและบัญชีไม่ได้แสดงอย่างถูกต้องเป็นจริงตามควร ตลอดจนความเสี่ยงที่กิจการอาจเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งผู้สอบบัญชีภาษีอากรเห็นว่าอาจมีผลกระทบที่สำคัญต่องบการเงิน ต่อการเสียภาษีอากรของกิจการ หรือต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี
1.3 ประสบการณ์จากการตรวจสอบกิจการนั้น และ/หรือ กิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องใช้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรอง บัญชีกิจการในปีก่อน (กรณีที่ได้ปฏิบัติงานให้กับกิจการ) หรือจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจประเภท เดียวกัน มาใช้ในการพิจารณาจัดทำแนวทางการสอบบัญชี
1.4 ความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของกิจการ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของกิจการ อย่างเพียงพอ โดยจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของรายการที่สำคัญ การเกิดขึ้นของรายการ และการบันทึกรายการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิธีการควบคุมภายในที่สำคัญ ซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในอาจได้มาจาก
(1) ประสบการณ์การตรวจสอบที่ผ่านมาเกี่ยวกับกิจการ
(2) การสอบถามผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน และบุคลากรอื่นในระดับต่าง ๆ ของกิจการ
(3) การศึกษาแผนภูมิระบบบัญชีของกิจการ (ถ้ามี)
(4) การสังเกตการณ์การปฏิบัติงานและการดำเนินงานของกิจการ
1.5 การประเมินความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ
(1) ความเสี่ยง ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชี ระบบการควบคุมภายใน ประสบการณ์จากการตรวจสอบกิจการนั้น หรือกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันมาประเมินความเสี่ยงสืบเนื่อง ความเสี่ยงจากการควบคุมภายในและความเสี่ยงในการตรวจสอบและรับรองบัญชีที่คาด ว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการกำหนดเรื่องสำคัญที่ตรวจสอบ โอกาสที่อาจเกิดการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ หรือโอกาสในการเกิดการทุจริต
(2) ความมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดระดับความมีสาระสำคัญและประเมินว่าระดับความ มีสาระสำคัญที่กำหนดนั้นยังคงมีความเหมาะสมหรือไม่ โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดระดับความมีสาระสำคัญที่ตนยอมรับได้ เพื่อตรวจสอบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเชิง ปริมาณ การประเมินความมีสาระสำคัญจะช่วยให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรสามารถตัดสินใจได้ ว่าควรตรวจสอบรายการใด ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างอย่างไร และต้องใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือไม่ รวมถึงสามารถเลือกใช้วิธีการตรวจสอบที่คาดว่าจะลดความเสี่ยงได้
1.6 ข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงิน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องศึกษาถึงข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงิน ซึ่งหมายความรวมถึง แบบของงบการเงิน การจัดรายการ และข้อมูลในงบการเงิน ทั้งนี้ เพื่อพิจารณารายการที่เป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่จะตรวจสอบ ซึ่งได้แก่ รายการสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนข้อมูลอื่นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น นโยบายทางบัญชี ภาระผูกพัน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น
1.7 สาระสำคัญด้านภาษีอากรของกิจการตามประมวลรัษฎากร ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของกิจการเพื่อให้ทราบ ว่า กิจการจะต้องเสียภาษีอากรประเภทใดบ้าง รวมถึงหน้าที่ที่กิจการจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด เพื่อกำหนด วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้านภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร
2. เนื้อหาสำคัญที่ต้องกำหนดไว้ในแนวทางการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องจัดทำแนวทางการสอบบัญชีเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ มีรายละเอียดเพียงพอ ซึ่งต้องประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบในแต่ละเรื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานประกอบรายการที่ทำการตรวจสอบว่าถูกต้องครบถ้วนเป็น จริงและตรงตามเอกสารประกอบการลงบัญชี รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้านภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร 2.2 ขอบเขตในการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดขอบเขตของการตรวจสอบในแต่ละเรื่องไว้ว่าจะทำ การตรวจสอบเพียงใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ สำหรับขนาดตัวอย่าง และวิธีการเลือกตัวอย่างที่จะทำการตรวจสอบผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะแจ้งไว้ใน แนวทางการสอบบัญชีนี้หรือจะแจ้งไว้ในกระดาษทำการที่ทำการตรวจสอบรายการนั้น ๆ ก็ได้
2.3 จังหวะเวลาในการตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเข้าตรวจสอบในแต่ละ เรื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการกำหนดจังหวะเวลาดังกล่าวอาจขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจที่ ตรวจสอบ รวมถึงวิธีการตรวจสอบที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรใช้
2.4 วิธีการตรวจสอบแต่ละเรื่องเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องใช้ดุลยพินิจในเชิงวิชาชีพในการเลือกวิธีการตรวจ สอบที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่กรณี เช่น
(1) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
(2) การตรวจนับ
(3) การขอยืนยันข้อมูลจากบุคคลภายนอก
(4) การสังเกตการณ์
(5) การตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
(6) การตรวจสอบการคำนวณ
(7) การสอบถาม

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

บทความจากเว็บ รับทำบัญชี.COM
อ่านบทความทั้งหมด https://รับทําบัญชี.com/accounting-services

บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
ปรับปรุงได้หรือไม่เปลี่ยนแบบ ภงด 50 ทุกปี มีเป้าหมายรายได้?

ปรับปรุงได้หรือไม่เปลี่ยนแบบ ภงด 50 ทุกปี มีเป้าหมายรายได้?

ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี สภาสรรหาความสามารถ ของพวกเขาในสาขา

ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี สภาสรรหาความสามารถ ของพวกเขาในสาขา

สิทธิประโยชน์การโอนกิจการทั้งหมดบัญชีภาษีมี 3 กิจการทั้งหมด?

สิทธิประโยชน์การโอนกิจการทั้งหมดบัญชีภาษีมี 3 กิจการทั้งหมด?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 9 สามารถนำค่าลดหย่อน ประกันสังคมมาใช้?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 9 สามารถนำค่าลดหย่อน ประกันสังคมมาใช้?

ภาระภาษีต่างๆ 1 ที่ผู้ลงทุนกองทุนรวมต้องรู้ไว้แข่งขันการค้า?

ภาระภาษีต่างๆ 1 ที่ผู้ลงทุนกองทุนรวมต้องรู้ไว้แข่งขันการค้า?

9 การเพิ่มยอดเจ้าหนี้เงินกู้ยืม ในบริษัท มีเป้าหมายรายได้?

9 การเพิ่มยอดเจ้าหนี้เงินกู้ยืม ในบริษัท มีเป้าหมายรายได้?

เงินเดือนเงินค่าเช่าเสียประกันสังคมเท่าไรเงินเดือน 9,000 บ.?

เงินเดือนเงินค่าเช่าเสียประกันสังคมเท่าไรเงินเดือน 9,000 บ.?

คณะบุคคลหักค่าเสื่อมอาคารได้หรือไม่เจ้าของในอัตรา 20% 5 ปี?

คณะบุคคลหักค่าเสื่อมอาคารได้หรือไม่เจ้าของในอัตรา 20% 5 ปี?

เคล็ดลับทำบัญชีอย่างไรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด 9 ผิดพลาดขึ้นได้?

เคล็ดลับทำบัญชีอย่างไรให้ผิดพลาดน้อยที่สุด 9 ผิดพลาดขึ้นได้?

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

ส่วนลดจ่าย อยู่หมวดไหนมาตรฐานรายงานทางการเงินตาม 9 เงื่อนไข?
อาชีพสุจริตทั้งหมดมีอะไรบ้างตลาดในฝัน 350 สำหรับคนประเทศไทย?
สัญญากู้ยืมกรรมการเงินบริษัท 9 แบบฟอร์ม WORD PDF ใบไม่มีดอก?
ต้นทุนขาย มีอะไร สูตรบัญชีตัวอย่างงบต้นทุนขาย 9 COGS บริหาร?
ใบเบิกเงินสดย่อย ตัวอย่าง 9 แบบฟอร์ม XLS WORD รายการเอกสาร?
เงินกู้ยืมกรรมการจากกิจการโดยแบ่งออกเป็นประเภท 9 ในหลายหมวด?
บันทึกบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่ายภงด 53 ตัวอย่าง EXPRESS กี่ประเภท?
รายได้รับล่วงหน้าตัวอย่างบันทึกบัญชี 9 Deferred Incomes หมวด?
แบบฟอร์มใบสั่งซื้อสินค้า PO ขั้นตอน 9 ตัวอย่าง EXCEL WORD ครบ?
เงินเบิกเกินบัญชีหมายถึง 9 บันทึกหมวด BANK OVERDRAF มีวงเงิน?