ความสำคัญ ของ บัญชีการเงิน เกี่ยวข้องกับ กฎหมายภาษีอากร
การบัญชีทางการเงิน คือ การจัดทำบัญชีเพื่อนำเสนอข้อมูลทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต อย่างผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และหน่วยงานของรัฐบาล รวมถึงบุคคลที่สนใจทั่วไป เป็นการนำเสนอในรูปของงบการเงินโดยที่เป็นภาพรวมของธุรกิจ ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ นอกจากนักบัญชีจะต้องมีความรู้ด้านบัญชีที่เป็นหลักการบัญชีทั่วไปรวมทั้งมาตรฐานการบัญชีแล้ว นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรอีกด้วย ความสัมพันธ์ของบัญชีการเงินกับกฎหมายภาษีอากร
การจัดทำงานเกี่ยวกับการทำบัญชีจะต้องคำนึงถึงทั้งหลักการบัญชีและ กฎหมายภาษีอากร โดยจะต้องมีแนวทางที่จะกำหนดในการจัดทำบัญชี หลายครั้งที่บริษัทมักจะทำบัญชีที่ไม่ตรงหรือไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร แถมยังมีข้อขัดแย้ง ทำให้นักบัญชีต้องรีบเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับ ทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษี อากร ซึ่งหากนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น งบทดลอง สมุดขั้นปลาย งบการเงิน จะทำให้นักบัญชีได้ยึดหลักการทำรายงานบัญชีและมาตรฐานการบัญชี ซึ่งก็คือยึดหลักของบัญชีการเงิน แต่ที่สำคัญคือนักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากรนั่นเอง การทำบัญชีการเงินให้ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร ส่วนใหญ่นักบัญชีมีความรู้ความและเข้าใจในการจัดทำบัญชีการเงินก็จริง แต่มักจะขาดความเข้าใจในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งนักบัญชีมักจะทราบพื้นฐานเบื้องต้นในการคำนวณหรือชำระภาษีอากร อย่างอัตราร้อยละของภาษีที่ต้องชำระ ต้องหักและนำส่ง แต่จะไม่ค่อยรู้จักนำเอากฎหมายภาษีอากรมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับหลักในการทำบัญชี และมักจะพบว่าการจัดทำบัญชีของธุรกิจในแต่ละรายการค้าของแต่ละงวดบัญชีนั้น มักจะปรากฏอยู่เสมอในเรื่องของการจัดทำบัญชีที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากร
ผู้จัดทำบัญชีจะต้องรีบทำการปรับปรุงแก้ไข รายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขทางภาษีอากรที่ได้กำหนดเอาไว้ สรุปข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากร บัญชีภาษีอากร จะช่วยในการปรับหลักการบัญชีให้เข้ากับกฎหมายภาษีอากร โดยจะต้องหาข้อยุติทางบัญชีและภาษีอากรให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมถูกต้องตาม กฎหมายภาษีอากร และจะต้องปรับปรุงรายรับทางบัญชีให้ตรงกับภาษีอากร รวมทั้งจัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ทำ ในกรณีบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และในเรื่องของการนำส่งภาษีรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนบัญชีการเงิน เป็นตัวช่วยในการบริหารงานของกิจการ และช่วยในด้านการควบคุมรายรับ- รายจ่าย สินทรัพย์ – หนี้สินและส่วนของเจ้าของ เพื่อเป็นข้อมูลทีมีประโยชน์ต่อบุคคลภายนอกโดยอย่างผู้ถือหุ้นที่ต้องการข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจในเรื่องของการดำเนินงานขยาย หรือ เลิกกิจการ ฯลฯ โดยใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องในการจัดทำบัญชี ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลทางบัญชีการเงินอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม >> CPTA ความสำคัญภาษีบัญชี