โรงงาน
บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี โรงงาน ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า)
- ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
- Email : 9622104@gmail.com
- Line Official Account : @e200
- ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน
การผลิตสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศหรือเศรษฐกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากการผลิตมีความสำคัญ ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก็มีความสำคัญ ดังนั้น โรงงานจึงเป็นส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ เป็นคำที่กว้างมากจนต้องมีบทบัญญัติพิเศษเพื่อดำเนินกิจกรรมทั้งหมดอย่างราบรื่น ในบทความนี้ เราจะพิจารณาคำจำกัดความต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงงาน
โดยทั่วไปแล้ว โรงงานคือ อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ผู้คนใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้า แต่เมื่อใดก็ตามที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความซับซ้อนและสำคัญมาก ข้อกำหนดทั่วไปจะไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
ดังนั้น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 ไม่เพียงแต่กำหนดสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเท่านั้น แต่ยังแก้ไขความสับสนบางประการด้วย เรื่องที่ควรศึกษาก่อนมีโรงงานเป็นของตัวเอง เช่น
- สิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดินและน้ำใต้ดิน ด้านอากาศ ด้านกากอุตสาหกรรม ด้านบุคลากรและอื่นๆ
- ความปลอดภัย เช่น การประเมินความเสี่ยงโรงงาน หม้อน้ำและหม้อต้มฯ ก๊าซอุตสาหกรรม สารเคมี สภาพแวดล้อมการทำงาน กัมมันตรังสี อัคคีภัย ระบบไฟฟ้าในโรง งาน ห้องเย็น เป็นต้น
กฎหมายที่เกี่ยวกับโรงงาน
- พระราชบัญญัติ โรงงาน
- พระราชบัญญัติ จดทะเบียนเครื่องจักร
- พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย
โรงงานคือ
ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 โรงงาน หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน 50 คน ขึ้นไป สำหรับ ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ
สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะตั้งโรงงาน สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือการขออนุญาตตั้งโรงงานและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยในปัจจุบันตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้การประกอบกิจการโรงงานได้รับความสะดวกและมีความคล่องตัวขึ้น โดยโรงงานขนาดเล็กจะประกอบกิจการง่ายขึ้น โรงงานขนาดใหญ่จะได้รับความสะดวกมาก
ประเภทของโรงงาน
การประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 7)กำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ
โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที
- ป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
- ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต
- ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
- ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
- เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก
- กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
- ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
- ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
- ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
- เสียค่าธรรมเนียมรายปี
โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ
- เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล
- โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
- ผู้ผลิตต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
- ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
- ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบางแห่ง
- ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
- เสียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ
หมายเหตุ :
- โรงงานจำพวกที่ 1, 2, 3 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
- โรงงานจำพวกที่ 1, 2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
- แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
โรงงานมีอะไรบ้าง
- โรงงานเคมี – ผลิตเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี เช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง และพลาสติก
- โรงงานแปรรูปอาหาร – ผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ธัญพืช นม เนื้อสัตว์ และเครื่องดื่ม
- โรงงานสิ่งทอ – ผลิตผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
- โรงงานผลิตยา – ผลิตยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์
- โรงงานพลังงาน – ผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ และความร้อนโรงงานประกอบ – ประกอบส่วนประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เป็นต้น
เครดิต diw.go.th
หน้ากากอนามัย คือ หน้ากากที่ช่วยป้องกันอนุภาคที่ลอยมากับอากาศไม่ให้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางโพรงจมูกและช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง สารพิษ หรือเชื้อโรคต่างๆ
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี