ข้อสมมติฐานทางการบัญชี

ข้อสมมติฐานทางการบัญชีปรับปรุงมาตรฐาน 2 มี เป้าหมายรายได้?

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี

กติกาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักการบัญชี

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี คือ สิ่งที่นักบัญชีกำหนดขึ้น เป็นเสมือนกติกาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักการบัญชี การทำความเข้าใจในข้อสมมติฐานต่างๆ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตอบคำถามค่ะว่า “ทำไมนักบัญชีจึงมีแนวทางปฏิบัติทางบัญชีในแต่ละเรื่องดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน” ตัวอย่างของข้อสมมติฐานทางบัญชี เช่น
– หลักราคาต้นทุน
– หลักความระมัดระวัง
– หลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย
– หลักเกณฑ์เงินค้าง

ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาในวิธีปฎิบัติทางบัญขี จึงควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นประกอบการพิจารณาก่อนกำหนดแนวทางการตัดสินใจต่อไป สิ่งที่ขัดแย้งกับข้อสมมติฐานดังกล่าวย่อมไม่ใช้วิธีปฎิบัติที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี

การทำความเข้าใจในข้อสมมติฐานทางบัญชีจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้มีหน้าที่ในการจัดทำบัญชี และผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจและการตัดสินใจ แม้หลักการบัญชีเช่น การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรจะมีวิธีการปฎิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับมากกว่าหนึ่งวิธี แต่เหตุผลเบื้องหลังแนวความคิดดังกล่าวย่อมพัฒนามาจากข้อสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย เป็นต้น

การปรับปรุงพร้อมกับมาตรฐาน

เป็นประเด็นที่นักบัญชีหลายคนอาจมองข้ามไป โดยเน้นพุ่งประเด็น ด้วยการไปมองที่มาตรฐานการบัญชี และการรายงานทางการเงินเป็นหลัก ซึ่งหัวใจสำคัญของการจัดทำบัญชีที่นักบัญชีควรศึกษาก็คือ แม่บทการบัญชี ซึ่งถือได้ว่าการที่นักบัญชีเข้าใจถึงแม่บทการบัญชี ก็คือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการศึกษามาตรฐานการบัญชี และยังเป็นจุดเชื่อมโยงเรื่องราวของมาตรฐานการบัญชี เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี แม่บทการบัญชี ได้มีการปรับปรุงพร้อมกับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานรายงานทางการเงิน จากที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การรายงานทางการเงินเกิดมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยข้อสมมติฐานที่ได้พูดถึงในแม่บทการบัญชีนั้น ประกอบไปด้วย เกณฑ์คงค้าง ซึ่งตามแม่บทการบัญชี คือ รายการ และเหตุการณ์ทางบัญชีที่จะรับรู้ได้ เมื่อเกิดเหตุ การณ์ที่มิใช่เมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด หรือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งรายการทางบัญชีนั้น จะถูกบันทึกบัญชีไว้ตามงวดบัญชีที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งอาจมีการสอดคล้องกับงบการเงินที่จะต้องจัดทำตามหลักเกณฑ์คงค้าง เมื่อนักบัญชีหลงลืมแม่บทการบัญชี นักบัญชีที่หลงลืมแม่บทการบัญชี อาจจะทำให้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเกณฑ์คงค้าง และยังรวมถึงเกณฑ์สิทธิ โดยคิดว่ามันคือหลักเกณฑ์เดียวกัน เพราะอาจจะเห็นว่าภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า Accrual Basis เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วมันคนละตัว ซึ่งเกณฑ์คงค้าง เป็นหลักเกณฑ์รับรู้ทางบัญชีในการคำนวณเรื่องกำไรขาดทุนทางบัญชี ด้วยการคิดคำนวณตามวิธีการรับรู้รายได้

และค่าใช้จ่ายที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง แต่การเกณฑ์สิทธิ เป็นเกณฑ์การรับรู้ทางภาษี ซึ่งสำหรับการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือนิติบุคคล ส่วนใหญ่จะคิดคำนวณตามหลักเกณฑ์การยอมรับเป็นรายได้หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามประมวลรัษฎากร การดำเนินงานต่อเนื่อง

การดำเนินงานต่อเนื่องหรือ Going Concern ซึ่งข้อสมมติฐานการบัญชีนี้เป็นหลักการทั่วไปที่สามารถเห็น หรือบอกได้ว่ารายการที่แสดงในงบการเงิน ได้ถูกจัดทำขึ้นตามข้อสมมติฐานที่ว่ากิจการนั้นจะดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต

แต่ในกรณีที่กิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะใช้หลักเกณฑ์อื่นแทนนั้น ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์นั้นในงบการเงินด้วย สิ่งสำคัญที่นักบัญชีควรต้องทำความเข้าใจ หลักการรับรู้รายการตามที่แม่บทการบัญชีกำหนด ซึ่งการรับรู้รายการของสินทรัพย์ ควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน

โดยจะต้องมีเงื่อนไขว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ ที่กิจการจะได้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และมีราคาทุน หรือมีมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ส่วนการรับรู้รายการของหนี้สิน คือ ควรรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน โดจะต้องมีเงื่อน ไขว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากร เพื่อเป็นการชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน

และจะต้องสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ นอกจากนี้จะต้องรับรู้รายได้และการรับรู้ค่าใช้จ่าย เพื่อให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือลดลงของหนี้สินรวมถึงการรับรู้ในงบกำไรขาดทุนอีกด้วย

ข้อสมมติฐานทางการบัญชี
ข้อสมมติฐานทางการบัญชี

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 2

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

บทความจากเว็บ รับทำบัญชี.COM
อ่านบทความทั้งหมด https://รับทําบัญชี.com/accounting-services

บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
เงินมัดจำจ่ายล่วงหน้า ค่าบริการหักณที่จ่าย 9 แตกต่างกันได้?

เงินมัดจำจ่ายล่วงหน้า ค่าบริการหักณที่จ่าย 9 แตกต่างกันได้?

ค่าลดหย่อนบุตรที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร 180 วัน?

ค่าลดหย่อนบุตรที่ศึกษาในต่างประเทศนำมาหักได้เท่าไร 180 วัน?

ผลิตภัณฑ์พลอยได้ปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวด 9 ตัวอย่างผลิต?

ผลิตภัณฑ์พลอยได้ปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวด 9 ตัวอย่างผลิต?

เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการกรณีถึงแก่กรรมมี 1 ทุกคนทำสัญญา?

เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการกรณีถึงแก่กรรมมี 1 ทุกคนทำสัญญา?

การวิเคราะห์รายการค้าให้ยึดอะไรเป็น 3 หลักการบันทึกบัญชีครบ?

การวิเคราะห์รายการค้าให้ยึดอะไรเป็น 3 หลักการบันทึกบัญชีครบ?

ส่วนประกอบของระบบบัญชี ตัวอย่างการวางระบบบัญชีมี 19 หลักการ?

ส่วนประกอบของระบบบัญชี ตัวอย่างการวางระบบบัญชีมี 19 หลักการ?

เช่าเครื่องถ่ายเอกสารต้องหักภาษีณที่จ่าย 5% เปล่า หักกี่ %?

เช่าเครื่องถ่ายเอกสารต้องหักภาษีณที่จ่าย 5% เปล่า หักกี่ %?

รายได้จากการขายหรือการให้บริการประกอบด้วยจะมี 2 ประเภทหลัก?

รายได้จากการขายหรือการให้บริการประกอบด้วยจะมี 2 ประเภทหลัก?

หลักความสม่ำเสมอ ปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวดบัญชี 7 รายการ?

หลักความสม่ำเสมอ ปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวดบัญชี 7 รายการ?

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

รายงานการประชุมปิดบัญชีธนาคารแบบฟอร์มเอกสารขอ 9 ตัวอย่างครบ

ส่วนลดจ่าย อยู่หมวดไหนมาตรฐานรายงานทางการเงินตาม 9 เงื่อนไข?
อาชีพสุจริตทั้งหมดมีอะไรบ้างตลาดในฝัน 350 สำหรับคนประเทศไทย?
สัญญากู้ยืมกรรมการเงินบริษัท 9 แบบฟอร์ม WORD PDF ใบไม่มีดอก?
ต้นทุนขาย มีอะไร สูตรบัญชีตัวอย่างงบต้นทุนขาย 9 COGS บริหาร?
ใบเบิกเงินสดย่อย ตัวอย่าง 9 แบบฟอร์ม XLS WORD รายการเอกสาร?
เงินกู้ยืมกรรมการจากกิจการโดยแบ่งออกเป็นประเภท 9 ในหลายหมวด?
บันทึกบัญชีภาษีหัก ณ ที่จ่ายภงด 53 ตัวอย่าง EXPRESS กี่ประเภท?
รายได้รับล่วงหน้าตัวอย่างบันทึกบัญชี 9 Deferred Incomes หมวด?
แบบฟอร์มใบสั่งซื้อสินค้า PO ขั้นตอน 9 ตัวอย่าง EXCEL WORD ครบ?
เงินเบิกเกินบัญชีหมายถึง 9 บันทึกหมวด BANK OVERDRAF มีวงเงิน?